简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เหตุการณ์สำคัญทางเศรษฐกิจที่น่าสนใจสัปดาห์นี้
นายพูน พานิชพิบูลย์ นักกลยุทธ์ตลาดเงินตลาดทุน Krungthai GLOBAL MARKETS ธนาคารกรุงไทยเปิดเผยว่า ค่าเงินบาทเปิดเช้านี้ (30 ม.ค.) ที่ระดับ 35.38 บาทต่อดอลลาร์ แข็งค่าขึ้นมากจากระดับปิดวันก่อนหน้าที่ระดับ 35.58 บาทต่อดอลลาร์ และมองกรอบเงินบาทวันนี้คาดว่าจะอยู่ที่ระดับ 35.25-35.55 บาท/ดอลลาร์ โดยในช่วงคืนก่อนหน้า ค่าเงินบาทพลิกกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่อง (แกว่งตัวในช่วง 35.38-35.60 บาทต่อดอลลาร์) โดยเงินบาทได้แรงหนุนจากการทยอยอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ ตามภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) ของตลาดการเงินสหรัฐฯ นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดบางส่วนยังได้ปรับลดสถานะถือครองเงินดอลลาร์ (Long USD) ลงบ้างในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุมเฟดในวันพฤหัสฯ นี้ และนอกเหนือจากการอ่อนค่าลงของเงินดอลลาร์ เงินบาทยังได้แรงหนุนเพิ่มเติมจากการรีบาวนด์ขึ้นของราคาทองคำ ส่งผลให้ผู้เล่นในตลาดบางส่วนอาจพิจารณาขายทำกำไรการรีบาวนด์ของราคาทองคำออกมาบ้าง และโฟลว์ธุรกรรมดังกล่าวมีส่วนช่วยหนุนให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
สำหรับแนวโน้มของค่าเงินบาท โมเมนตัมการอ่อนค่าของเงินบาทนั้นแผ่วลงจริงตามที่เราได้ประเมินไว้ (ซึ่งเราได้ Call Short-term Peak ของเงินบาทแถว 35.80-35.90 บาทต่อดอลลาร์ เมื่อวันที่ 26 มกราคมที่ผ่านมา) ทว่า เงินบาทกลับแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องมากกว่าที่เราประเมินไว้ หลังเงินบาทแข็งค่าขึ้นหลุดโซนแนวรับแรกแถว 35.50 บาทต่อดอลลาร์ (ซึ่งจะกลายมาเป็นโซนแนวต้าน) ทำให้เรามองว่า ในช่วงนี้เงินบาทมีโอกาสแข็งค่าขึ้นต่อ ทดสอบโซนแนวรับถัดไป 35.20-35.30 บาทต่อดอลลาร์ หากบรรยากาศในตลาดการเงินยังคงอยู่ในภาวะเปิดรับความเสี่ยง ซึ่งต้องรอลุ้นรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ในสหรัฐฯ รวมถึงรอลุ้นว่านักลงทุนต่างชาติจะทยอยกลับเข้ามาซื้อสินทรัพย์ไทยได้ต่อเนื่องหรือไม่ นอกจากนี้ ในช่วงก่อนรับรู้ผลการประชุมเฟด เงินบาทอาจพอได้แรงหนุนบ้างจากการปรับสถานะถือครองเงินดอลลาร์ของผู้เล่นในตลาด (ขายทำกำไรและลดสถานะ Long USD)
ทั้งนี้ เรายังคงประเมินว่าเงินบาทอาจเสี่ยงที่จะผันผวนอ่อนค่าลงได้บ้างหากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสหรัฐฯ นั้นออกมาดีกว่าคาด และยิ่งทำให้ผู้เล่นในตลาดต่างเชื่อว่า เฟดจะไม่รีบลดดอกเบี้ย หรือรายงานข้อมูลเศรษฐกิจฝั่งยูโรโซนออกมาแย่กว่าคาด กดดันให้เงินยูโร (EUR) ผันผวนอ่อนค่าลง
สำหรับวันนี้ผู้เล่นในตลาดจะรอลุ้นรายงานข้อมูลเศรษฐกิจสำคัญจากฝั่งยูโรโซน ทั้ง อัตราการเติบโตเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ของปีก่อนหน้า รวมถึงรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (Consumer Confidence) นอกจากนี้ ผู้เล่นในตลาดจะรอจับตาถ้อยแถลงของบรรดาเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางยุโรป (ECB) เพื่อประกอบการประเมินแนวโน้มนโยบายการเงินของ ECB
ส่วนในฝั่งสหรัฐฯ เรามองว่าตลาดจะรอจับตารายงานยอดตำแหน่งงานเปิดรับ (Job Openings) และดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค โดย Conference Board อย่างใกล้ชิด เพื่อประเมินแนวโน้มการปรับดอกเบี้ยนโยบายของเฟด และนอกเหนือจากรายงานข้อมูลเศรษฐกิจดังกล่าว เราประเมินว่าผู้เล่นในตลาดจะติดตามรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะรายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทเทคฯ ใหญ่ ทั้ง Microsoft และ Alphabet โดยในช่วงนี้ รายงานผลประกอบการของบรรดาบริษัทจดทะเบียนยังคงเป็นปัจจัยที่มีผลกระทบต่อบรรยากาศในตลาดการเงินได้พอสมควร
ขอบคุณข้อมูลจาก : นายพูน พานิชพิบูลย์
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การลงทุนที่ดีที่สุดเพื่อเพิ่มผลกำไรจากการเทรด Forex
บทวิเคราะห์ Bitcoin
กฎของ 72 เป็นสูตรที่เรียบง่าย แต่มีประโยชน์มากสำหรับนักลงทุนที่อยากรู้ว่าเงินลงทุนจะเพิ่มขึ้นเป็น สองเท่า ภายในเวลากี่ปี ด้วยอัตราผลตอบแทนรายปีที่กำหนด หรือหากนักเทรดรู้ระยะเวลาที่เงินจะเพิ่มเป็นสองเท่าแล้ว กฎนี้ยังช่วยคำนวณอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยที่คุณต้องการได้ด้วย
พีระมิดการลงทุนไม่เพียงแต่ช่วยลดความเสี่ยง แต่ยังสร้างสมดุลให้พอร์ตการลงทุนได้อย่างยั่งยืน หัวใจสำคัญคือการวางแผนและจัดการพอร์ตให้เหมาะสมกับเป้าหมาย พร้อมทั้งศึกษาและเข้าใจสินทรัพย์แต่ละประเภทอย่างลึกซึ้ง