简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สถิติคนไทยโดนหลอกลวงทางออนไลน์ใน 1 ปี มีมูลค่าเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท
ตำรวจไซเบอร์ เปิดสถิติหลอกลวงทางออนไลน์ ในรอบ 1 ปี พบยอดแจ้งความเฉียด 3 แสนคดี มูลค่าเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท ชี้คดีหลอกขายสินค้าสูงที่สุด ตามด้วยหลอกให้โอนเงิน ด้าน เอไอเอส เปิดตัว ดัชนีชี้วัดสุขภาวะดิจิทัล พบคนไทยมีความรู้ด้านดิจิทัล แค่พื้นฐาน พบว่า มีกว่า 44% ต้องมีการพัฒนาทักษะให้เท่าทันโลกดิจิทัล
ปิดเผยสถิติการหลอกลวงทางออนไลน์ ผ่านระบบแจ้งความออนไลน์บน www.thaipoliceonline.com ยอดสะสม 1 มี.ค. 65 - 31 พ.ค. 2566 พบว่ามียอดสูงถึง 296,243 เรื่อง คิดเป็นมูลค่าความเสียหายเกือบ 40,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นเฉลี่ย 525 คดี/วัน และ แบ่งเป็นความเสียหายเฉลี่ยคิดเป็น 74 ล้านบาทต่อวัน
โดยมีการจัดอันดับความเสียหายที่ประชาชนถูกมิจฉาชีพหลอกลวง มีดังนี้
อันดับ 1 คดีส่วนใหญ่ จะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลอกลวงซื้อขายสินค้าหรือบริการทางออนไลน์ ซึ่งมีมากกว่า 1 แสนคดี หรือ คิดเป็น 37.25%
อันดับ 2 เป็นเรื่องหลอกให้โอนเงิน จำนวน 36,896 คดี หรือ คิดเป็น 13.65%
อันดับ 3 เป็นการหลอกให้กู้เงิน จำนวน 33,517 คดี หรือ คิดเป็น 12.40%
อันดับ 4 หลอกให้ลงทุนผ่านระบบคอมพิวเตอร์ 22,740 คดี คิดเป็น 8.41% และ
อันดับ 5 การข่มขู่ทางโทรศัพท์ 20,474 คดี คิดเป็น 7.57%
พล.ต.ต.นิเวศน์ ระบุว่า สถานการณ์การหลอกลวงทางออนไลน์ ขณะนี้มีการปรับตัวดีขึ้นบ้าง หลังจากภาครัฐ มีการออกกฎหมายเข้มงวด ในการจัดการกลุ่มมิจฉาชีพ ที่หลอกลวงทางไซเบอร์เพิ่มมากขึ้น ทั้งการจัดการบัญชีม้า ซิมผี และ SMS ปลอม ขณะที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ก็มีการออกประกาศให้ สถาบันการเงิน ห้ามส่งลิงค์แนบ ไปยังผู้ใช้ รวมถึงการเพิ่มการปรับปรุงระบบการโอนเงิน โดยใช้การสแกนใบหน้า แต่อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันมิจฉาชีพ ก็ไม่ได้อยู่นิ่งๆ มีการคิดค้น กลลวงรูปแบบใหม่มากมาย มาใช้หลอกประชาชน ดังนั้นประชาชนต้องรู้เท่าทันเทคโนโลยี เพื่อจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อให้กับมิจฉาชีพ นำไปสู่การเสียทรัพย์สินอันมีค่าของตัวเอง
แนวทางป้องกันโดนหลอกออนไลน์
• ห้ามกดลิงก์จาก SMS เพื่อติดตั้งแอปหรือรับเพิ่มเพื่อนในไลน์เด็ดขาด
• ตัดสายทิ้งทันที เมื่อรับสายที่ปลายสายเป็นเสียงอัตโนมัติหรือผู้ที่อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่ที่จู่ ๆ ก็ให้โอนเงินเพื่อพิสูจน์ความบริสุทธิ์ หรือผู้ที่โทรมาตีเนียนเป็นคนรู้จัก
• ห้ามโอนเงินทุกกรณี หากไม่สามารถระบุตัวตนปลายทางได้
• ตรวจสอบ URL ให้ถูกก่อนกรอกรหัสผู้ใช้งาน หากไม่ชัวร์ห้ามกรอกเด็ดขาด
• หลีกเลี่ยงการกรอกรหัสผ่านจาก Pop up หรือ Single Sign On
ขอบคุณข้อมูลทั้งหมดจาก : Thai PBS
ก่อนที่จะเลือกเทรดกับโบรกเกอร์ไหนก็ตาม แอดเหยี่ยวอยากให้ศึกษารายละเอียดให้ดีเสียก่อน จะได้ไม่มาเสียใจภายหลัง ถือว่าแอดเตือนแล้วนะ!!! ที่สำคัญอย่าลืมมาตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี !
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
การวางแผนการเทรด Forex อย่างมั่นคงเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้นักเทรดทุกท่านประสบความสำเร็จในระยะยาว อย่าลืมว่าแผนการเทรดที่ดีจะช่วยปกป้องคุณในช่วงเวลาที่ตลาดผันผวน และเป็นเครื่องมือสำคัญในช่วงที่ตลาดเอื้อต่อการทำกำไร
ไม่ว่าจะเลือกใช้อุปกรณ์ใด สิ่งสำคัญคือการเลือกเทรดกับ โบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานกำกับดูแล เพื่อให้มั่นใจได้ว่าการลงทุนของคุณปลอดภัย ตรวจสอบข้อมูลโบรกเกอร์และอ่านรีวิวได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX ที่โหลดฟรี! อย่าหลงกลมิจฉาชีพ เพราะการลงทุนกับผู้ให้บริการที่ไม่น่าเชื่อถือมีแต่เสียกับเสีย!
โครงสร้างกราฟ “หลอก” ในมุมมอง SMC การเทรด Forex ในคู่เงินเดียวกันนั้น นักเทรดสามารถทำกำไรได้ทั้งการ Long และ Short ขึ้นอยู่กับกลยุทธ์ของแต่ละคน ในวิดีโอนี้ เจ้าของช่องได้แสดงให้เห็นถึงวิธีการเทรดที่เขาใช้เพื่อต่อกรกับเจ้ามือ
บทวิเคราะห์ทองคำ
IC Markets Global
OANDA
EC Markets
FBS
Octa
FxPro
IC Markets Global
OANDA
EC Markets
FBS
Octa
FxPro
IC Markets Global
OANDA
EC Markets
FBS
Octa
FxPro
IC Markets Global
OANDA
EC Markets
FBS
Octa
FxPro