简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ: วันนี้ WikiFX พาคุณมารู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘False Breakout หรือ Fake Breakout’ ดูจากชื่อแล้วไม่น่าใช่เรื่องดีนัก เพราะสิ่งนี้แหละที่หลอกให้เทรดเดอร์เข้าใจตลาดผิด เงินหาย กระเป๋าหดกันไปเยอะแล้ว False Breakout คืออะไร? ทำไมใคร ๆ ไม่อยากเจอ หาคำตอบได้ในบทความนี้
วันนี้ WikiFX พาคุณมารู้จักสิ่งที่เรียกว่า ‘False Breakout หรือ Fake Breakout’ ดูจากชื่อแล้วไม่น่าใช่เรื่องดีนัก เพราะสิ่งนี้แหละที่หลอกให้เทรดเดอร์เข้าใจตลาดผิด เงินหาย กระเป๋าหดกันไปเยอะแล้ว False Breakout คืออะไร? ทำไมใคร ๆ ไม่อยากเจอ หาคำตอบได้ในบทความนี้
ก่อนที่จะไปถึง False Breakout เรามาทวนกันก่อนว่า Breakout คืออะไร? Breakout คือการที่กราฟ มีราคาทะลุแนวรับ หรือแนวต้านที่เราตั้งไว้ เมื่อราคาของคู่เงินนั้น ๆ วิ่งมาจนสามารถทะลุแนวรับ หรือแนวต้านได้นั้น เราจะเรียกลักษณะอาการของกราฟช่วงนี้ว่าเกิดการ Breakout (เบรก-เอ้าท์)
โดยปกติกราฟราคาที่ได้ Breakout ออกมาแล้ว มักจะเคลื่อนที่ต่อในแนวโน้มเดิม เราก็ซื้อขายตามแนวโน้มนั้น ๆ แต่บางครั้งมันเกิดเรื่องไม่คาดฝัน คือกรณีที่ราคากลับ ‘สวนทาง’ กับที่คาดไว้ แล้วหวนกลับเข้าแนวโน้มเดิม พูดง่าย ๆ คือกราฟหลอกเราว่าราคาจะไปทางนึง แต่สุดท้ายกับไปทางตรงข้าม ทำให้การลงทุนไม่เป็นอย่างที่เราคิด และอาจสร้างความเสียหายตามมา ซึ่งนี่แหละคือ ‘False Breakout’
False Breakout สามารถแบ่งออกได้เป็นสองประเภทหลัก ๆ ตามทิศทางของการ Breakout
1. Bull Trap (กับดักขาขึ้น) คือลักษณะ False Breakout ที่เกิดขึ้นเมื่อกราฟราคาได้ Breakout ออกจากแนวต้านขึ้นไป แล้วถดถอยลงมาอยู่ในช่วงราคาเดิมในระยะเวลาอันสั้น
2. Bear Trap (กับดักขาลง) คืออีกลักษณะหนึ่งของ False Breakout เป็นสัญญาณหลอกว่าแนวโน้มในตลาดกำลังจะเป็นขาลง เนื่องจากกราฟราคาได้ Breakout ออกจากแนวรับ อย่างไรก็ตาม หลังเวลาได้ผ่านไปสักพัก กราฟราคาก็กลับเข้าไปอยู่ในแนวโน้มเดิม
วิธีหลีกเลี่ยง False Breakout
วิธีหลีกเลี่ยง False Breakout ไม่ได้ยากนัก แทนที่คุณจะดำเนินการซื้อขายแบบเรียลไทม์ทันทีที่ราคาทะลุแนวรับแนวต้าน เราควรรอจนกว่าแท่งเทียนจะปิดเพื่อยืนยันความแข็งแกร่งของ Breakout ดังนั้น แนวคิดในการตั้งค่าคำสั่งซื้อเข้าให้สูงหรือต่ำกว่าระดับแนวรับหรือแนวต้านเพื่อให้เราเข้าสู่การซื้อขายแบบ Breakout โดยอัตโนมัติจึงไม่ใช่แนวคิดที่ดีนัก เพราะคำสั่งแบบนั้นอาจฆ่าเรา ทำให้เราไปเจอ False Breakout ก็ได้
เราขอแนะนำให้ใช้การแจ้งเตือนราคาปิดของแท่งเทียนแต่ละอันเป็นหลัก คือคุณจะได้รับการแจ้งเตือนก็ต่อเมื่อแนวรับหรือแนวต้านทะลุผ่านการปิดของแท่งเทียนนั้น ๆ นี้ คุณจะได้รับการแจ้งเตือน เมื่อเข้าสู่ระบบบนคอมพิวเตอร์ หรือแอปพลิเคชันมือถือ เมื่อเลือกแล้ว เราจะได้รับการแจ้งเตือนก็ต่อเมื่อแท่งเทียนปิดเกินระดับราคาที่เราเลือก แทนที่จะได้รับการแจ้งเตือนทันทีที่ราคาทะลุแบบเรียลไทม์สำหรับกราฟรายชั่วโมง
อีกกลยุทธ์หนึ่งในการหลีกเลี่ยง False Breakout คือลองเช็คกราฟใน Timeframe อื่น ๆ ถ้าอยู่ที่ Timeframe สั้น ๆ 4 ชั่วโมง ก็อาจขยายไปยัง Timeframe ที่กว้างขึ้น เช่น รายวัน หรือรายสัปดาห์ และดูแนวโน้มโดยรวมได้ หากราคา breaks down ใน Timeframe ที่เล็กกว่า แต่ไม่ได้อยู่ในกราฟ Timeframe ที่ยาว ๆ นั่นอาจจะเป็น False Breakout
False Breakout เป็นศัพท์ทางเทคนิคที่ยากพอสมควร สำหรับมือใหม่ เราแนะนำให้ค่อย ๆ ศึกษาไปทีละขั้นนะ และซักวันคุณจะเซียนในตลาดนี้แน่นอน! ถ้าอยากเรียนรู้เทคนิค กลยุทธ์ ข่าวสารในตลาด Forex พร้อมประสบการณ์ดี ๆ จากกูรูทั่วโลก ก็ต้องดาวน์โหลดแอป WikiFX ติดมือถือไว้เลย โหลดฟรี มีให้อ่านทุกวันนะ!
ขอบคุณข้อมูลจาก: dailyfx.com, daytradetheworld.com, konlenforex.com และ protradingnow.com
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FXTM
IC Markets Global
Vantage
FOREX.com
GO MARKETS
Pepperstone
FXTM
IC Markets Global
Vantage
FOREX.com
GO MARKETS
Pepperstone
FXTM
IC Markets Global
Vantage
FOREX.com
GO MARKETS
Pepperstone
FXTM
IC Markets Global
Vantage
FOREX.com
GO MARKETS
Pepperstone