简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ย้อนรำลึกเหตุการณ์ "9/11" วินาศกรรมครั้งใหญ่ของโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 11 กันยายน 2544 เมื่อโลกต้องตื่นตะลึงกับภาพเหตุการณ์เครื่องบิน 2 ลำที่พุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ กลางกรุงนิวยอร์ก
ย้อนรำลึกเหตุการณ์ “9/11” วินาศกรรมครั้งใหญ่ของโลกที่เกิดขึ้นเมื่อ 11 กันยายน 2544 เมื่อโลกต้องตื่นตะลึงกับภาพเหตุการณ์เครื่องบิน 2 ลำที่พุ่งชนตึกแฝดเวิลด์เทรดเซ็นเตอร์ กลางกรุงนิวยอร์ก รวมถึงลำที่ 3 พุ่งชนอาคารเพนตากอนในรัฐเวอร์จิเนีย จนเกิดความเสียหายมหาศาล
จากวันนั้น สู่วันนี้ 11 ก.ย. 2564 เป็นวันที่ชาวอเมริกันจะรำลึกการครบรอบ 20 ปี เหตุวินาศกรรม 9/11 หรือ “11 กันยา” ซึ่งเกิดจากน้ำมือของกลุ่ม “อัลกออิดะห์” และนำมาซึ่งการประกาศทำ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ของสหรัฐ
เหตุวินาศกรรมครั้งนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมเกือบ 3,000 คน ในจำนวนนี้เกือบ 40% ยังไม่สามารถระบุอัตลักษณ์ได้อย่างเป็นทางการจนถึงปัจจุบัน
ถึงแม้ในท้ายที่สุด สหรัฐได้ถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานเมื่อเดือน ส.ค. ที่ผ่านมา แต่ใช่ว่าในปัจจุบัน ชาวอเมริกันทั่วประเทศจะมองและรู้สึกกับเหตุการณ์นี้ตรงกันทั้งหมด บ้างก็เห็นด้วยกับการล้างแค้นปลิดชีพ “โอซามา บิน ลาเดน” ผู้นำอัลกออิดะห์ได้สำเร็จ บ้างก็ไม่เห็นด้วยกับการทุ่มงบประมาณไปกับการส่งทหารไปประจำการในอัฟกานิสถานนับสิบ ๆ ปี แต่ภัยคุกคามจากการก่อการร้ายทุกวันนี้ก็ยังไม่หมดไป
สำหรับ ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ผู้นำสหรัฐคนปัจจุบัน การตัดสินใจยุติภารกิจทางทหารในอัฟกานิสถานที่ยืดเยื้อมา 2 ทศวรรษผ่านประธานาธิบดี 4 คน (จอร์จ ดับเบิลยู บุช, บารัก โอบามา, โดนัลด์ ทรัมป์ และตัวเขาเอง) ถือเป็นการขจัดปัญหาร้ายทางการเมืองได้ระดับหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม สำหรับชาวอเมริกันหลายล้านคนที่ต้องเติบโตและใช้ชีวิตผ่านฝันร้ายตั้งแต่เช้าวันที่ 11 ก.ย. 2544 บาดแผลนี้ไม่เคยจางหายไปจากความทรงจำของพวกเขา
ย้อนรอยดู ไทม์ไลน์ 20 ปีของวินาศกรรม 9/11 สะเทือนโลก ระหว่างปี 2544-2564 ว่ามีเหตุการณ์สำคัญอะไรเกิดขึ้น และจากวันนั้นถึงวันนี้ โลกได้เรียนรู้บทเรียนอะไรบ้าง
พ.ศ. 2544
11 ก.ย. : กลุ่มก่อการร้าย “อัลกออิดะห์” ไฮแจ็คเครื่องบินโดยสารสหรัฐ 4 ลำ โดย 2 ลำพุ่งชนตึกแฝด “เวิลด์เทรด เซ็นเตอร์”ในนครนิวยอร์ก ลำที่ 3 พุ่งชนอาคารเพนตากอนในรัฐเวอร์จิเนีย ส่วนลำที่ 4 ตกในทุ่งที่รัฐเพนซิลเวเนีย ก่อนถึงเป้าหมายรัฐสภาในกรุงวอชิงตัน เพราะผู้โดยสารต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย
เหตุวินาศกรรมครั้งนี้ ทำให้มีผู้เสียชีวิตรวมเกือบ 3,000 คน
สัปดาห์ต่อมา จอร์จ ดับเบิลยู บุช ปธน.สหรัฐ ประกาศเปิดฉาก “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” กับกลุ่มอัลกออิดะห์
7 ต.ค. : สหรัฐและอังกฤษโจมตีทางอากาศฐานใส่ฐานที่มั่นอัลกออิดะห์และเป้าหมายอื่น ๆ ในอัฟกานิสถาน
พ.ศ. 2546
19 มี.ค. : กองกำลังพันธมิตรนำโดยสหรัฐ บุกเข้าอิรัก โดยอ้างว่า “ซัดดัม ฮุสเซน” ผู้นำเผด็จการแอบพัฒนาอาวุธพลังทำลายล้างสูง
พ.ศ. 2547
9 ต.ค. : ฮามิด คาร์ไซ ซึ่งเป็นผู้นำรัฐบาลชั่วคราวของอัฟกานิสถานตั้งแต่ “ตาลีบัน” ล่มสลายช่วงปลายปี 2544 ชนะการเลือกตั้งครั้งแรกของประเทศ
พ.ศ. 2552
1 ธ.ค. : บารัก โอบามา ปธน.สหรัฐ สั่งเพิ่มกำลังทหารในอัฟกานิสถาน จนกระทั่งมีกำลังพลอเมริกัน 1 แสนนาย
พ.ศ. 2553
31 ส.ค. : โอบามา ประกาศยุติปฏิบัติการสู้รบของสหรัฐในอิรัก
พ.ศ. 2554
2 พ.ค. : โอซามา บิน ลาเดน ผู้นำอัลกออิดะห์ ถูกกองทัพสหรัฐสังหารระหว่างปฏิบัติการบุกแหล่งกบดานในแอบบอตทาบัดของปากีสถาน
18 ธ.ค. : กองทัพสหรัฐชุดสุดท้ายถอนออกจากอิรัก
จากนั้น กลุ่มก่อการร้ายใหม่กำเนิด คือ กลุ่มรัฐอิสลาม (ไอเอส) แห่งอิรักและเลแวนต์ เริ่มยึดครองพื้นที่ในอิรักและซีเรีย
พ.ศ. 2557
28 ธ.ค. : โอบามา ประกาศยุติภารกิจสู้รบของสหรัฐและนาโตในอัฟกานิสถานอย่างเป็นทางการ แต่ให้ทหารอเมริกัน 1.1 หมื่นนายอยู่ประจำการต่อ
พ.ศ. 2563
29 ก.พ. : รัฐบาลของโดนัลด์ ทรัมป์ และกลุ่มตาลีบัน ลงนามข้อตกลงให้สหรัฐถอนทหารทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานภายใน 1 พ.ค. 64 แลกกับให้ตาลีบันป้องกันพื้นที่ไม่ให้ถูกอัลกออิดะห์ยึดครอง
พ.ศ. 2564
14 เม.ย. : โจ ไบเดน ปธน.สหรัฐคนปัจจุบัน สั่งถอนทหารที่เหลืออยู่ทั้งหมดออกจากอัฟกานิสถานโดยปราศจากเงื่อนไข ภายในเส้นตาย 11 ก.ย. 64
ก.ค.-ส.ค. : กองกำลังรัฐบาลอัฟกานิสถานล่มสลายทั่วประเทศ และตาลีบันยึดกรุงคาบูลได้สำเร็จ ก่อนกองทัพสหรัฐถอนกำลังเสร็จ
30 ส.ค. : ทหารอเมริกันชุดสุดท้ายออกจากอัฟกานิสถาน 100% ปิดฉากสงครามต่อต้านการก่อการร้ายเกือบ 20 ปี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Tickmill
IC Markets Global
Vantage
FXTM
FOREX.com
GO MARKETS
Tickmill
IC Markets Global
Vantage
FXTM
FOREX.com
GO MARKETS
Tickmill
IC Markets Global
Vantage
FXTM
FOREX.com
GO MARKETS
Tickmill
IC Markets Global
Vantage
FXTM
FOREX.com
GO MARKETS