简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เมื่อคืนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงทันทีหลังจากที่นักลงทุนได้เห็นตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชน (ADP) ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร
เมื่อคืนนี้อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลปรับตัวลดลงทันทีหลังจากที่นักลงทุนได้เห็นตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชน (ADP) ถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนไปยังตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรจริง (NFP) ที่จะประกาศในวันพรุ่งนี้ ความผิดหวังนี้ส่งผลให้ดอลลาร์สหรัฐอ่อนตัวลงตามเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักอื่นๆ สาเหตุที่ดอลลาร์ปรับตัวลดลงแทบจะทันทีเพราะก่อนหน้านี้นักเศรษฐศาสตร์คาดการณ์เอาไว้แล้วว่าตัวเลขการจ้างงานที่จะประกาศในวันศุกร์มีโอกาสที่จะเพิ่มขึ้นแต่ไม่มาก ยิ่งตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชนออกมาเช่นนี้ยิ่งทำให้นักลงทุนเป็นกังวลกับการรายงานตัวเลขการจ้างงานฯ มากขึ้น
การประกาศตัวเลขการจ้างงานจากภาคเอกชนหรือ ADP เมื่อวานนี้ได้ข้อสรุปว่ามีการจ้างงานเพิ่มขึ้น 374,000 ตำแหน่ง ห่างไกลจากตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตรของเดือนกรกฎาคม 943,000 ตำแหน่งมากถึง 569,000 ตำแหน่ง จริงอยู่ว่าในปีนี้รายงานตัวเลขการจ้างงานจาก ADP แทบจะไม่ตรงกับ NFP เลย แต่ตัวเลขของ ADP ก็สามารถใช้อ้างอิงได้จริงในการพิจารณาภาพรวมของตลาดแรงงาน เพราะตัวเลขการจ้างงานในเดือนกรกฎาคมของ NFP และ ADP ห่างกันอย่างมหาศาล ดังนั้นเมื่อวานนี้นักเศรษฐศาสตร์จึงหวังให้ตัวเลข ADP ของเดือนสิงหาคมที่ออกมาควรจะเพิ่มขึ้นได้อย่างน้อย 613,000 ตำแหน่ง แต่ก็อย่างที่เห็นว่าภาพความหวังนั้นไม่เกิดขึ้น
ตอนนี้เราคงต้องยอมรับว่าตลาดการเงินสหรัฐฯ มีความเปราะบางเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ถึงแม้ชาวอเมริกันจะได้ฉีดวัคซีนที่ดีที่สุดในโลก แต่ก็ยังมีคนจำนวนไม่น้อยที่ยังไม่ได้รับหรือไม่ต้องการฉีดวัคซีน และนั่นทำให้การระบาดของโควิด-19 สายพันธุ์เดลตามีอิทธิพลมากขึ้น และกำลังเป็นภัยคุกคามต่อการฟื้นตัวในอนาคต ถ้าหากตัวเลขการจ้างงานฯ ในวันพรุ่งนี้ออกมาลดลงจริง จะยิ่งเป็นการตอกย้ำถึงความเสี่ยงที่กำลังใกล้ตลาดลงทุนเข้ามาทุกขณะ หากว่าตัวเลข NFP ปรับตัวลดลงมากคล้ายกับที่เกิดขึ้นกับ ADP มีโอกาสที่ดอลลาร์จะอ่อนค่าอย่างรวดเร็ว และนักลงทุนอาจจะต้องโบกมือลาความเป็นไปได้ในการปรับลด QE ของเฟดในเดือนนี้ และตั้งแต่วันนี้ไปจนถึงการรายงานตัวเลขการจ้างงานฯ ดอลลาร์สหรัฐจะไม่แข็งค่าขึ้นเพราะต้องอยู่ภายใต้แรงกดดันตามที่ได้วิเคราะห์มา
สกุลเงินที่แข็งค่ามากที่สุดเมื่อคืนนี้คือดอลลาร์ออสเตรเลีย นอกจากจะได้อานิสงส์จากการอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐ ดอลลาร์ออสเตรเลียยังปรับตัวขึ้นขานรับตัวเลข GDP ในไตรมาสที่สองที่ออกมาดีเซอร์ไพรส์ตลาด การเติบโตทางเศรษฐกิจทำได้เร็วเกินคาด และตัวเลข GDP ในไตรมาสหนึ่งฉบับแก้ไขรายละเอียดใหม่ก็ออกมาเพิ่มขึ้นเช่นกัน อย่างไรก็ตาม ข่าวดีนี้อาจจะทำให้นักลงทุนมองข้ามความเป็นจริงที่ว่าออสเตรเลียยังอยู่ในโหมดล็อกดาวน์ได้เพียงชั่วคราว และกิจกรรมทางเศรษฐกิจก็ไม่อาจเติบโตได้ภายใต้สภาวะเช่นนั้น ดัชนี PMI ภาคการผลิตหดตัวลดลงจาก 60.8 เป็น 51.6 จุด ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือนกันยายนปีที่แล้ว ขาขึ้นของสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียยังส่งผลให้กราฟ NZD/USDปรับตัวขึ้นเป็นวันที่แปดจากเก้าวันล่าสุด
สกุลเงินดอลลาร์แคนาดาไม่ได้เข้าร่วมปาร์ตี้ขาขึ้นของดอลลาร์ออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ เชื่อว่าเป็นผลกระทบมาจากราคาน้ำมันที่ปรับตัวลดลงเล็กน้อยและรายงานตัวเลข GDP เมื่อวานนี้ที่ไม่ได้เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ในวันนี้สหรัฐฯ และแคนาดาจะมีการรายงานตัวเลขดุลบัญชีการค้าที่นักลงทุนสามารถใช้พิจารณาความแข็งแกร่งของตัวเลขการนำเข้าและส่งออก การอ่อนค่าของดอลลาร์สหรัฐยังสามารถทำให้สกุลเงินอย่างยูโรและปอนด์ปรับตัวขึ้น กลบข่าวร้ายที่ตัวเลขยอดค้าปลีกและ PMI หดตัว แม้ว่าสกุลเงินปอนด์จะแข็งค่าสู้ยูโรไม่ได้ แต่ตัวเลขราคาที่อยู่อาศัยและ PMI ภาคการผลิตกลับปรับตัวสูงขึ้นได้อย่างน่าสนใจ จากตอนนี้ไปจนกว่าจะถึงการรายงานตัวเลขการจ้างงานนอกภาคการเกษตร เราคาดว่าตลาดสกุลเงินจะไม่มีความเคลื่อนไหวมากนัก
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FxPro
Octa
EC Markets
STARTRADER
XM
Vantage
FxPro
Octa
EC Markets
STARTRADER
XM
Vantage
FxPro
Octa
EC Markets
STARTRADER
XM
Vantage
FxPro
Octa
EC Markets
STARTRADER
XM
Vantage