简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สรุปให้เข้าใจ ลดคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท คืออะไร? ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง? ประเด็นเรื่องของการ "คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท"กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์ นั่นเพราะจะเริ่มมีการบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม ที่จะถึงนี้
สรุปให้เข้าใจ ลดคุ้มครองเงินฝากเหลือ 1 ล้านบาท คืออะไร? ต้องเตรียมตัวยังไงบ้าง? ประเด็นเรื่องของการ “คุ้มครองเงินฝาก 1 ล้านบาท”กลายเป็นที่พูดถึงอย่างมากบนโลกออนไลน์ นั่นเพราะจะเริ่มมีการบังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม ที่จะถึงนี้
การคุ้มครองเงินฝากคืออะไร?
สถาบันคุ้มครองเงินฝาก (DPA) จะมีหน้าที่ดูแลเงินฝากในธนาคารของเรา คือเมื่อไหร่ที่ธนาคารเกิดมีปัญหาอะไรขึ้นมา เงินส่วนนี้ก็จะได้รับการคุ้มครองอัตโนมัติ โดยจะได้รับเงินทุกบาททุกสตางค์ ภายใน 30 วัน
จุดเริ่มต้นการคุ้มครองเงินฝาก
ในอดีตประเทศไทยเราไม่ได้มีการคุ้มครองเงินฝากแต่อย่างใด จนกระทั่งเจอกับวิกฤติต้มยำกุ้งในปี 2540 ซึ่งมีสถาบันการเงินล้มหายตายจากไปจำนวนมาก
รัฐบาลสมัยนั้น กังวลเรื่องความเชื่อมั่นของธนาคารที่เหลืออยู่ ก็เลยประกาศ “ค้ำประกัน” ให้กับเจ้าหนี้และผู้ฝากเงินเต็มจำนวน (โดยให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ มารับหนี้ดังกล่าว) นั่นคือจุดเริ่มต้นของการคุ้มครองเงินฝากในไทย
ต่อมาในปี 2546 เศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวและเติบโตได้ดี ทางธนาคารแห่งประเทศไทยก็เลยเสนอไปว่าควรจะมีการจัดตั้ง “สถาบันคุ้มครองเงินฝาก” ขึ้นมา เพื่อผลประโยชน์ของผู้ฝากเงินโดยตรง
ในที่สุดหลังจากร่างกฎหมายและผ่านขั้นตอนต่างๆ นานเกือบ 5 ปี ในที่สุดสถาบันคุ้มครองเงินฝากก็เกิดขึ้น และการคุ้มครองเงินฝากก็บังคับใช้ในวันที่ 11 สิงหาคม 2551
บัญชีเงินฝากแบบไหนที่ได้รับการคุ้มครอง?
เงินที่ถูกคุ้มครองจะต้องเป็นสกุลเงินบาทกับบัญชี 5 ประเภท ได้แก่ 1.) เงินฝากกระแสรายวัน 2.) เงินฝากออมทรัพย์ 3.) เงินฝากประจำ 4.) บัตรเงินฝาก และ 5.) ใบรับฝากเงิน
ลดวงเงินคุ้มครองเหลือ 1 ล้านบาทจะมีผลอะไรบ้าง?
ก่อนหน้านี้วงเงินคุ้มครองอยู่ที่ 5 ล้านบาท แต่หลังจากลดเหลือ 1 ล้านบาท แปลว่าต่อไปนี้ยอดเงินฝากที่เกิน 1 ล้านบาท ก็จะไม่ถูกคุ้มครองอีกแล้ว
เช่น ฝากเงิน 5 ล้านกับธนาคาร A และหากธนาคาร A ถูกปิดกิจการขึ้นมา เราจะได้รับเงินคืนชัวร์ๆ เพียง 1 ล้านบาทเท่านั้น!
ส่วนที่เหลือต้องมาลุ้นอีกทีว่าทรัพย์สินของธนาคารมีอยู่เท่าไหร่ ซึ่งก็มีโอกาสที่จะได้เงินคืนไม่ครบ
ทั้งนี้ ต้องบอกว่าวงเงิน 1 ล้าน เป็นการคุ้มครองต่อ 1 คน ต่อ 1 สถาบันการเงิน คือถ้าเราฝากเงินไว้หลายธนาคาร ก็จะถูกคุ้มครองธนาคารละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยไม่นำวงเงินมานับรวมกัน
แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีหลายบัญชีในธนาคารเดียวกัน อันนี้ต้องเอาวงเงินมานับรวมกันนะ
คนที่มีเงินฝากเกิน 1 ล้านบาท ควรทำยังไงดี?
หากไม่อยากรับความเสี่ยงกรณีธนาคารปิดกิจการ สิ่งที่ทำได้ก็คือการกระจายเงินฝากไปยังหลายๆ ธนาคาร แห่งละไม่เกิน 1 ล้านบาท การแบ่งเงินบางส่วนไปลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงขึ้น ก็เป็นวิธีหนึ่งที่อยากแนะนำ เพราะดีกว่าปล่อยเงินทิ้งไว้เฉยๆ โดยไม่ได้สร้างประโยชน์อะไร
คนไทย 98% มีเงินฝากไม่ถึง 1 ล้านบาท
ข้อมูลจากสถาบันคุ้มครองเงินฝาก ระบุว่า คนไทย 98% ฝากเงินไม่เกิน 1 ล้านบาทอยู่แล้ว นโยบายนี้จึงไม่น่าส่งผลมากนักต่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ
ขอขอบคุณข้อมูลจาก FinSpace และ BillionWay
แนะนำฟีเจอร์ “จัดอันดับโบรกเกอร์” คุณกำลังมองหาโบรกเกอร์ Forex แนะนำอยู่หรือไม่ ถ้าใช้ให้ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เพื่อตรวจสอบโบรกเกอร์หรือดูการจัดอันดับ โบรกเกอร์ Forex เพราะแอพ WikiFX ได้ตรวจสอบโบรกเกอร์และคัดสรรมาให้หมดแล้ว ว่าโบรกเกอร์ไหนดีหรือไม่ดี
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FBS
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
EC Markets
Octa
FBS
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
EC Markets
Octa
FBS
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
EC Markets
Octa
FBS
Tickmill
Pepperstone
GO MARKETS
EC Markets
Octa