简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ถือเป็นการเลือกช่วงเวลาไม่ดีเลยสำหรับการทะเลาะกันภายในระหว่างกลุ่ม OPEC เพราะไม่ว่าจะมีมติออกเป็นเช่นไร จะจับมือกัน หรือจะไม่มองหน้ากันอีกเลย แต่มังกรอย่างประเทศจีนก็ไม่ได้สนใจดราม่านี้
ถือเป็นการเลือกช่วงเวลาไม่ดีเลยสำหรับการทะเลาะกันภายในระหว่างกลุ่ม OPEC เพราะไม่ว่าจะมีมติออกเป็นเช่นไร จะจับมือกัน หรือจะไม่มองหน้ากันอีกเลย แต่มังกรอย่างประเทศจีนก็ไม่ได้สนใจดราม่านี้ และพยายามลดการนำเข้าน้ำมันมาสักระยะหนึ่งแล้ว
Crude Oil Daily
คำว่าสักระยะที่ว่านี้กินเวลาตั้งแต่เดือนมกราคมมาจนถึงเดือนมิถุนายนที่จีนได้ลดการนำเข้าน้ำมันลงมา 3% YoY จริงอยู่ว่าลำพังการกระทำของจีนไม่อาจฉุดราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นมา 50% ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันได้ แต่การกระทำของจีนซึ่งได้ชื่อว่าเป็นผู้ซื้อน้ำมันอันดับสองของโลกก็สร้างแรงกระเพื่อมได้พอสมควร และแน่นอนว่าไม่ใช่เรื่องดี นอกจากการลดโควตาการนำเข้าน้ำมันของจีน และการหดตัวของการใช้น้ำมันตั้งแต่ปี 2013 ตลาดน้ำมันยังได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันโลกที่ยังคงแพงขึ้นเรื่อยๆ และการปิดโรงกลั่นน้ำมันเพื่อปรับปรุงหรือหนีโควิดเป็นระยะๆ
นักวิเคราะห์จากยูเรเชีย กรุ๊ปวิเคราะห์สถานการณ์ได้อย่างน่าสนใจว่า
“การที่ราคาน้ำมันปรับตัวขึ้นเรื่อยๆ ทำให้โรงงานกลั่นน้ำมันบางแห่งต้องหยุดดำเนินการลงเพราะสู้ต้นทุนการกลั่นที่สูงเกินไปไม่ไหว และเป็นหนึ่งในเหตุผลที่ทำให้จีนลดการนำเข้าน้ำมัน หาก OPEC+ ยังทะเลาะกันไม่เลิก และไม่ได้ข้อสรุปว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตต่อ ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นจะกลายเป็นตัวการทำลายอุปสงค์น้ำมันที่ปรับขึ้นมาตลอด ไม่ต้องไปไกลถึงประเทศจีน เอาแค่อินเดียที่พึ่งฟื้นตัวจากวิกฤตโควิดก็พอ”
สำหรับผู้ที่ไม่ได้ตามสถานการณ์น้ำมัน เราสรุปสั้นๆ ให้ว่าตั้งแต่เริ่มต้นปี 2021 เป็นต้นมา กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมันและชาติพันธมิตร (OPEC+) ได้มีการประชุมหารือกันเกี่ยวกับการวางแนวทางการผลิตน้ำมันในเดือนถัดไปเป็นประจำทุกเดือน แต่การประชุมครั้งล่าสุดที่สมควรจะได้ข้อสรุปตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคมกลับกลายเป็นว่ามีประเด็นเกิดขึ้น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ไม่เห็นด้วยกับโควตาที่ซาอุดิอาระเบียวางให้ จนนำไปสู่การประชุมที่ไร้ข้อสรุปมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งรวมถึงโควตาเพิ่มการผลิตน้ำมัน 400,000 บาร์เรลต่อวันในเดือนสิงหาคมก็ยังไม่ได้รับการอนุมัติจนถึงทุกวันนี้
กลับเป็น OPEC เองที่ทำร้ายขาขึ้นในตลาดน้ำมันก่อนหน้าที่จะมีการทะเลาะกัน ราคาน้ำมันดิบสามารถทำขาขึ้นได้อย่างสวยงามและเป็นระเบียบมากๆ ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวขึ้นมา 57% ในขณะที่เบรนท์ปรับตัวขึ้นมาเกือบ 50% สาเหตุที่ราคาน้ำมันสามารถปรับตัวขึ้นมาได้เช่นนี้เป็นเพราะกลุ่ม OPEC+ ในตอนที่ยังสามัคคีกันอยู่ดึงกำลังการผลิตน้ำมัน 50 ล้านบาร์เรลต่อวันออกไปก่อน และปล่อยให้เศรษฐกิจฟื้นตัวจากวิกฤตโควิด
หลังจากนั้น OPEC+ ก็เริ่มเปลี่ยนกลยุทธ์มาเป็นทยอยเพิ่มกำลังการผลิตเมื่อเห็นเศรษฐกิจฟื้นตัวและความต้องการน้ำมันเริ่มกลับมา พวกเขาเริ่มปล่อยน้ำมันเข้าตลาดวันละ 6 ล้านบาร์เรลต่อวัน และตามกำหนดการณ์เดิมคือกำลังจะเริ่มเพิ่มกำลังการผลิตอีก 400,000 บาร์เรลต่อวันเพื่อดูว่าความต้องการน้ำมันในช่วงฤดูร้อนของโลกตะวันตกจะมีพลังมากแค่ไหน แต่กลุ่ม OPEC+ ก็กลับมาทะเลาะกันในช่วงเวลาที่ไม่สมควรเอาเสียเลย
เพราะการระบาดของโควิดในปี 2021 นี้กลับเป็นการสลับฝั่งกัน ประเทศตะวันตกที่เคยทำได้แย่ในปีที่แล้วกลับสามารถควบคุมโควิดได้ดีกว่า ในขณะประเทศทางฝั่งเอเชียโดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียกลับมีสถานการณ์ที่แย่ลง แย่ยิ่งกว่าการระบาดในปีที่แล้วเสียอีก การประชุม G-20 เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมาของ รมต. กระทรวงการคลังแต่ละประเทศเห็นตรงกันว่า การไม่สามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียมกันคือปัจจัยหลักที่ชะลอการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
สิ่งที่ต้องจับตามองในตอนนี้คือสถานการณ์การระบาดโควิดสายพันธุ์เดลตาในประเทศฝั่งยุโรปด้วย ยอดผู้ติดเชื้อใหม่ในสหรัฐฯ ตอนนี้เพิ่มขึ้นสูงที่สุดนับตั้งแต่เดือนพฤษภาคม ถ้าหากไฟเซอร์ไม่สามารถหยุดไวรัสกลายพันธุ์ตัวนี้ได้ อาจจะเท่ากับว่าอเมริกาต้องกลับไปเริ่มนับหนึ่งใหม่อีกครั้ง และจะเป็นการสร้างผลกระทบต่อการเดินทางและการใช้งานน้ำมันอีกครั้ง
ตัวแปรคนสำคัญของตลาดน้ำมันโลก: ประเทศจีนการตั้งคำถามกับความต้องการน้ำมันยิ่งมีมากขึ้นเมื่อผู้เล่นทางเศรษฐกิจคนที่สามอย่างประเทศจีนแสดงท่าทีชัดเจนว่าจะลดการใช้พลังงานน้ำมันและหันไปใช้พลังงานไฟฟ้าให้ได้ ความเก่งกาจของประเทศจีนคือพวกเขาเคยชินกับการปฏิเสธกระแสของโลก หากราคาน้ำมันอยู่สูงหรือต่ำเกินไปจนจีนมองว่าค้าขายไปก็ไม่คุ้มทุน พวกเขากล้าที่จะปิดระบบเศรษฐกิจของตัวเอง อยู่ภายในกันเอง ใช้ของกันเองกับประชากรจำนวนมากกว่า 1,400 ล้านคนได้อย่างไม่มีปัญหา
นี่ไม่ใช่เพียงตัวเลขคาดการณ์ หรือการคำนวณความเป็นไปได้เชิงสถิติ แต่จีนเคยทำเช่นนี้จริงๆ มาแล้วกับตลาดทองแดงที่ซื้อขายกันในตลาดลอนดอน (LME Copper)
LME Copper Daily
ในวันที่ 10 พฤษภาคม ราคาซื้อขายทองแดงล่วงหน้าบน LME เคยขึ้นไปทำจุดสูงสุดเอาไว้ที่ $10,746 ตัน ซึ่งวันนั้นเองเป็นวันที่จีนตัดสินใจไม่เล่นตามเกมขึ้นราคาอีกต่อไป สิ่งที่จีนทำทันทีหลังจากไม่ซื้อทองแดงที่ราคานี้แล้วคือหยุดนำเข้าทองแดงในสัปดาห์ถัดมา และภายในเดือนมิถุนายน ราคาซื้อขายทองแดงล่วงหน้าสามเดือนบน LME ก็ปรับตัดลงมากกว่า 8% ถือเป็นขาลงที่แรงที่สุดนับตั้งแต่เดือนมีนาคมปี 2020 จนถึงตอนนี้ราคาทองแดงก็ยังไม่สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นไปได้
ก่อนที่ประเทศจีนจะเล่นตลกกับตลาดทองแดงในลอนดอน ราคาทองแดงในตลาดแห่งนี้เคยปรับตัวขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนปี 2020 จนถึงเดือนพฤษภาคมปี 2021 โดยไม่ไม่มีสะดุดเลย จีนยินดีที่จะซื้อทองแดงในราคา $5,200 ตันขึ้นมาจนถึง $10,746 ตัน แต่การที่จีนเล่นเกมทางกลไกราคาแบบนี้กลายเป็นการโยนภาระไปให้กับเอกชนซึ่งเป็นผู้ขุดแร่ทองแดง การหยุดซื้อแร่ครั้งนี้เท่ากับว่าจีนทำให้ราคาทองแดงลดลง 12% จาก $10,746 ลงมาอยู่ที่ $9,400
แล้วถ้าเทียบกับสถานการณ์ในตลาดน้ำมัน จีนสามารถทำอะไรได้บ้าง?
นายโอซามะ ริสวี่ นักวิเคราะห์จากบริษัท Primary Vision Network วิเคราะห์ว่าที่ผ่านมาจีนได้ทำอะไรไปหลายอย่างเพื่อรักษาสมดุลให้กับราคาน้ำมัน ในบล็อกของเขาได้เขียนอธิบายว่าทำไมราคาน้ำมันอาจจะไม่สามารถขึ้นถึง $100 ต่อบาร์เรลด้วยสาเหตุว่า
“เฉพาะเดือนพฤษภาคม ประเทศจีนได้หยุดกลั่นน้ำมันจำนวน 589,000 ต่อบาร์เรลเอาไว้ และตั้งแต่ราคาน้ำมันลงมาแตะจุดต่ำสุดในรอบ 20 ปี จีนก็ได้เก็บสะสมน้ำมันเอาไว้มาตลอด ดังนั้นจีนจึงยังมีทางเลือกที่จะใช้น้ำมันที่มีอยู่ในคลังแทนที่จะนำเข้าน้ำมันในราคาที่แพงขึ้น แม้ว่าการกระทำนี้จะไม่สามารถเปลี่ยนความเป็นจริงพื้นฐานของตลาดน้ำมันได้ แต่ก็ไม่สั่งซื้อน้ำมันเพิ่มของจีนต้องก่อให้เกิดผลกระทบในตลาดน้ำมันแน่นอน”
อีกหนึ่งปัจจัยที่คุณโอซามะชี้ให้เห็นเป็นประเด็นคือความสัมพันธ์ระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา เขากล่าวว่าตอนนี้สหรัฐอเมริกาเลือกที่จะซื้อชิปฯ จากบริษัท ‘MagnaChip’ (NYSE:MX) ของเกาหลีใต้แทนที่จะไปซื้อชิปจากบริษัทสัญชาติจีน ยิ่งไปกว่านั้นสัปดาห์นี้สหรัฐฯ พึ่งจะเพิ่มชื่อบริษัทจีน 14 แห่งเข้าสู่บัญชีดำโดยข้อหาละเมิดสิทธิมนุษยชนกับชาวมณฑลซินเจียง
“หากสหรัฐฯ กลับจีนกลับมามีประเด็นสงครามการค้ากันอีก ไม่ว่าจะด้วยเรื่องอะไรก็ตาม จะส่งผลกระทบต่อขาขึ้นของน้ำมันดิบในตอนนี้ แม้แต่การรายงานของสื่อหากมีการเลือกคำหรือสื่อสารผิดพลาดก็อาจก่อให้เกิดความบาดหมางและนำไปสู่ความผันผวนในตลาดน้ำมันดิบ”
สรุปใจความของบทความนี้คืออิทธิพลทางเศรษฐกิจของจีนในปี 2021 สามารถสร้างผลกระทบได้ทั้งอุปสงค์และอุปทานซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ผู้มีสิทธิ์ผลิตน้ำมันไม่ว่าจะเป็นกลุ่มใดหรือประเทศใดสามารถมองข้ามได้
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Octa
FXTM
VT Markets
HFM
Vantage
ATFX
Octa
FXTM
VT Markets
HFM
Vantage
ATFX
Octa
FXTM
VT Markets
HFM
Vantage
ATFX
Octa
FXTM
VT Markets
HFM
Vantage
ATFX