简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:Bitcoin ได้ชื่อว่าเป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องมีคนกลาง (ธนาคารกลางหรือ Central Bank) คอยควบคุม ซึ่งการที่ระบบการเงินอยู่ได้โดย “ไร้คนกลาง” นี่เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลส่วนใหญ่หวาดกลัว Bitcoin
Bitcoin ได้ชื่อว่าเป็นระบบการเงินรูปแบบใหม่ที่ไม่ต้องมีคนกลาง (ธนาคารกลางหรือ Central Bank) คอยควบคุม ซึ่งการที่ระบบการเงินอยู่ได้โดย “ไร้คนกลาง” นี่เองที่เป็นสิ่งที่ทำให้รัฐบาลส่วนใหญ่หวาดกลัว Bitcoin
ระบบการเงินในปัจจุบันที่ธนาคารกลางเป็นคนกำหนดปริมาณเงินที่จะมีในระบบ คำถามคือทำไมเราถึงยอมเชื่อในกระดาษเปื้อนหมึก ที่ไม่มีหลักทรัพย์อะไรค้ำประกันเลย..?
คำตอบก็คือ เราเชื่อในเครดิตของรัฐ เมื่อรัฐค้ำประกันว่ากระดาษเปื้อนหมึกนี้มีค่าใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนได้ เราจึงยอมรับกระดาษเหล่านี้
บางคนเคยเข้าใจว่า รัฐจะพิมพ์เงินได้จะต้องมีทองคำสำรองในคลัง ความจริงกฏข้อนี้ไม่เป็นจริงมานานแล้วนะครับ ตั้งแต่ปธน.ริชาร์ด นิกสัน ล้ม Bretton Woods System เงินก็เลิกผูกค่ากับทองคำตั้งแต่นั้นมา
ธนาคารกลางคือหน่วยงานหลักของรัฐในการควบคุมปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจ ในประเทศทั่วไปอย่างไทย ธนาคารกลางอาจจะทำแค่การดูดเงินออกจากระบบ หรือเพิ่มเงินเข้าระบบด้วยการควบคุมอัตราดอกเบี้ย แต่ประเทศมหาอำนาจที่เครดิตดีอย่างสหรัฐ ญี่ปุ่น อังกฤษ และยูโร ถึงกับสามารถพิมพ์เงินกระดาษเพิ่มขึ้นมาได้เอง
สิ่งต่างๆ เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหรือการพิมพ์เงิน (QE) เป็นกลไกของธนาคารกลางในการดูแลเสถียรภาพของระบบเศรษฐกิจที่เรียกกันว่า นโยบายการเงิน (monetary policy)
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าประเทศประสบปัญหาเศรษฐกิจ บางครั้งรัฐก็เลือกที่จะลดค่าเงิน (ไม่ว่าจะด้วยการลดอัตราดอกเบี้ย หรือการแทรกแซงค่าเงินเช่นเทขายสกุลเงินของตัวเองเข้าสู่ตลาดโลก ฯลฯ) พอค่าเงินอ่อน ก็จะช่วยผ่อนหนักเป็นเบา ส่งออกดีขึ้น อะไรประมาณนี้
ซึ่งการที่ยูโรโซนทั้งหมดใช้สกุลเงินเดียวกัน จึงสร้างปัญหาให้กับประเทศที่อ่อนแอในยูโร เพราะไม่สามารถใช้ monetary policy ในการควบคุมค่าเงินเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจได้ พอดอกเบี้ยต่ำ หลายประเทศจึงอยู่ในสภาวะหนี้ท่วมหัว เพราะแข่งขันไม่ได้และกู้แต่หนี้ จึงเสี่ยงที่จะล้มละลายอยู่จนทุกวันนี้
สรุปแล้ว การแทรงแซงอย่างเหมาะสมของธนาคารกลางมีความสำคัญ (แต่การแฮกเกมส์ด้วยการ show me the money เพิ่มเงินไม่มีวันหมดอย่างการ QE ของพวกมหาอำนาจ ถือเป็น monetary policy นอกคอกนอกตำราที่ไม่ส่งให้เกิดผลดีนะครับ) เพื่อช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศที่อ่อนแอพลิกฟื้น (ต้มยำกุ้งของไทยเป็นตัวอย่างที่ใกล้ตัวที่สุด) หรือชะลอเศรษฐกิจของประเทศที่ร้อนแรงเกินไป (แบบที่เคยเกิดกับจีนในช่วงหลายปีก่อน)
นี่เป็นเหตุผลที่ส่วนตัวผมเชื่อว่า ไม่มีวันที่ระบบการเงินที่อ้างอิงกับมาตรฐานทองคำ (Gold Standard) จะถูกนำกลับมาใช้ในยุคนี้ เพราะเมื่อไหร่ที่คุณตรึงค่าเงินไว้กับทองคำ ความยืดหยุ่นของนโยบายการเงินจะหายไป
ซึ่งเอาเข้าจริงถ้าพูดเรื่องนี้แบบตรงไปตรงมา monetary policy ที่ควบคุมให้เงินอ่อนเงินแข็งนั้น เป็นการนำกลไกทางเศรษฐศาสตร์ไปแทรกแซงกฏธรรมชาติอย่าง Natural Selection ของชาร์ล ดาร์วิน พูดง่ายๆ คือตามกฏของดาร์วิน ประเทศที่อ่อนแอ สุดท้ายจะสู้สงครามเศรษฐกิจไม่ได้ และล้มละลายไปเอง
ถ้าคุณอยากส่งออกได้ดีกว่าคู่แข่ง สิ่งที่คุณควรทำคือการผลิตสิ่งที่เหมาะกับตัวเอง ยกระดับคุณภาพสินค้า หรือสร้างนวัตกรรมเพื่อสร้างจุดแข็ง แล้วตีตลาดโลก ไม่ใช่ลดค่าเงินเพื่อให้ของถูกจะได้แข่งขันกับคู่แข่งได้ง่ายขึ้น
ประเทศไหนทำไม่ได้ก็ควรสูญพันธ์ไปตามหลักของดาร์วิน
นอกเรื่องไปไกลย้อนกลับมาที่เรื่องของ Bitcoin
นั่นเป็นเพราะหากประชาชนของรัฐเลือกใช้ Bitcoin เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยน รัฐจะไม่สามารถนำกลไกของธนาคารกลางมาควบคุมปริมาณเงินอย่างที่เคยทำในอดีตได้ และสุดท้ายปัญหาเศรษฐกิจของประเทศก็จะไม่มีทางแก้ไขด้วย monetary policy แบบที่เคยเป็นมา คงเหลือเพียงแค่นโยบายการคลังหรือ fiscal policy (เช่นการแทรกแซงระบบเศรษฐกิจด้วยการลงทุนของรัฐเป็นต้น)
ถ้าโลกใช้ Bitcoin จะไม่มีการ QE อีกต่อไป และถ้าเป็นอย่างนั้นหลายๆ ประเทศมหาอำนาจจะต้องล้มละลาย (ตอน Subprime ถ้าสหรัฐไม่ QE ป่านนี้สหรัฐล้มละลายไปแล้วครับ ญี่ปุ่น และยูโรก็เช่นกัน)
โลกทั้งโลกใช้ Bitcoin เหมือนใช้ทองคำ ไม่มีเงินอ่อนเงินแข็ง ไม่มีการแทรกแซงค่าเงิน ไม่มีตลาด Forex ให้เทรด เราบินไปญี่ปุ่นก็ใช้ Bitcoin ซื้อราเม็งได้เหมือนอยู่เมืองไทยที่ใช้ Bitcoin ซื้อก๋วยเตี๋ยวเรือ
ระบบธนาคารแบบดั้งเดิมอาจจะกลายเป็นเรื่องไม่จำเป็นอีกต่อไป เมื่อคุณมีระบบการเงินที่เป็นอิสระที่ถูกสร้างอยู่บนเครือข่ายอินเทอร์เนต
ซึ่งการไม่มีนายธนาคารก็เป็นเรื่องที่กลุ่มต่อต้านระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมเห็นชอบอยู่แล้ว เพราะพวกเค้ามองว่านายธนาคารและนักการเงินคือคนที่สร้างอนุมูลอิสระจำนวนมากให้ระบบเศรษฐกิจโลกในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตราสารทางการเงินประหลาดๆ ที่ปั่นป่วนเศรษฐกิจโลกทั้ง MBS, CDS, CDO (ใครไม่รู้จักยังไม่ต้องไปสนใจมันมากนักก็ได้ครับ ระเบิดเวลาทั้งนั้นเจ้าพวกนี้ แต่ถ้าสนใจศึกษาประวัติศาสตร์ของ Subprime กับวิกฤติยูโร ควรรู้จักเจ้าพวกนี้ไว้ให้มากๆ ครับ)
ดังนั้นในภาคทฤษฏีแล้ว กล่าวโดยสรุป Bitcoin จะมาปั่นป่วนระบบเศรษฐกิจโลก เพราะมันจะปลดแอกระบบการเงินโลกให้พ้นจากการควบคุมของรัฐและนายธนาคาร..!! แง่นึงดูเหมือนจะดี แต่อีกแง่กฏของชาร์ล ดาร์วินจะถูกนำกลับมาใช้ทันที เพราะรัฐขาดกลไกควบคุมไปแล้ว ประเทศอ่อนแอจะล้ม เพราะทำเงินอ่อนไม่ได้ ประเทศแข็งแรงจะกินรวบเศรษฐกิจทั้งโลก ฯลฯ
ถ้าคุณคิดว่าการเลือกโบรกเกอร์ Forex มันยากไม่รู้จะเอาอะไรดี ลองมาดูการจัดอันดับโบรกเกอร์ Forex จาก WikiFX ไหม เราได้จัดอันดับโบรกเกอร์ดีและไม่ดี ให้คุณได้เลือกโบรกง่ายขึ้น ถ้าโบรกเกอร์คุณติดอันดับ 50 ขึ้นไปถือว่าสามารถสบายใจได้เลยว่าโบรกเกอร์ของคุณนั้นมาตรฐานดี ดาวน์โหลดแอพ WikiFX เลย!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
บทวิเคราะห์ราคาบิตคอยน์
บทวิเคราะห์ Bitcoin
แม้ว่า Bitcoin และ Ethereum จะใช้เทคโนโลยีบล็อกเชนและมีแนวคิดแบบกระจายศูนย์เหมือนกัน แต่พวกมันถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเป้าหมายที่ต่างกันอย่างสิ้นเชิง Bitcoin ถูกออกแบบมาให้เป็นทางเลือกแทนเงินสดหรือทองคำในโลกดิจิทัล มันมีโครงสร้างที่เรียบง่ายและมุ่งเน้นการเป็นแหล่งเก็บมูลค่า ในทางกลับกัน Ethereum เป็นแพลตฟอร์มที่มีความยืดหยุ่นสูง ใช้สำหรับพัฒนาแอปพลิเคชัน เช่น DeFi (การเงินแบบกระจายศูนย์), NFT (สินทรัพย์ดิจิทัลที่ไม่ซ้ำกัน) และการใช้งานอื่น ๆ ในโลก Web3 การที่ Ethereum สามารถรองรับการเขียนโค้ดในธุรกรรมได้ ทำให้มันกลายเป็น "บล็อกเชนสำหรับนักพัฒนา" และมีความเร็วในการทำธุรกรรมที่เหนือกว่า
บทวิเคราะห์บิตคอยน์
FxPro
TMGM
Vantage
HFM
Pepperstone
IC Markets Global
FxPro
TMGM
Vantage
HFM
Pepperstone
IC Markets Global
FxPro
TMGM
Vantage
HFM
Pepperstone
IC Markets Global
FxPro
TMGM
Vantage
HFM
Pepperstone
IC Markets Global