简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:วันหยุดแบบนี้ WikiFX ขอพาทุกคนไปรู้จักหนังที่เหมาะกับนักลงทุนอย่างพวกคุณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นเป็น ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่สร้างขึ้นเพื่อเปิดโปงขบวนการฉ้อฉล ในแวดวงการเมือง การเงิน การธนาคาร ตลาดหุ้น และตลาดตราสารต่าง ๆ ของสหรัฐ อันเป็นที่มาของวิกฤติซับไพรม์ หรือวิกฤติทางการเงินของอเมริกาเมื่อปี 2008 ซึ่งเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกทีในโลก และวันนึงมันอาจจะเกิดที่บ้านเราก็ได้
วันหยุดแบบนี้ WikiFX ขอพาทุกคนไปรู้จักหนังที่เหมาะกับนักลงทุนอย่างพวกคุณอีกครั้ง แต่ครั้งนี้เป็นเป็น ภาพยนตร์กึ่งสารคดีที่สร้างขึ้นเพื่อเปิดโปงขบวนการฉ้อฉล ในแวดวงการเมือง การเงิน การธนาคาร ตลาดหุ้น และตลาดตราสารต่าง ๆ ของสหรัฐ อันเป็นที่มาของวิกฤติซับไพรม์ หรือวิกฤติทางการเงินของอเมริกาเมื่อปี 2008 ซึ่งเรื่องราวแบบนี้เกิดขึ้นได้ทุกทีในโลก และวันนึงมันอาจจะเกิดที่บ้านเราก็ได้
Inside Job (2010) เป็นภาพยนตร์สารคดีที่ได้รับรางวัลออสการ์ในปี 2010 เป็นรางวัลสำหรับภาพยนตร์แนวสารคดีที่ดีที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น Inside Job นำเสนอข้อมูลเชิงลึกของวิกฤติซับไพรม์ มีการไปสัมภาษณ์ผู้ที่เกี่ยวข้องโดยตรง แน่นอนว่าคนที่เป็นต้นตอของสาเหตุ ก็เลี่ยงไม่ยอมให้สัมภาษณ์
สาเหตุของวิกฤตก็มาจากการดำเนินนโยบายทางการเงินที่ผิดพลาดของใครหลาย ๆ คน และไม่เลือกที่จะแก้ปัญหา แต่กลับใช้วิธีกวาดปัญหาเหล่านั้นไปซุกไว้ แล้วเลือกแต่ส่วนที่เอื้อประโยชน์ให้กับตนเพียงอย่างเดียว จนเมื่อระบบภายในเกิดการเน่าเฟะ สุดท้ายก็จบลงด้วยสภาวะทางเศรษฐกิจที่ล่มสลาย รวมถึงยังแสดงให้เห็นการปัดความรับผิดชอบของเหล่านักการเมืองที่เห็นแก่ตัวในขณะนั้นด้วยง
หนังชี้ให้เห็นว่าวิกฤตการเงินที่เกิดขื้นไม่ใช่เรื่องบังเอิญ มันหลีกเลี่ยงได้ถ้าผู้ควบคุมกฎกติกาทำงานอย่างจริงจัง โดยไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัว ในช่วง ค.ศ. 1940-1980 เศรษฐกิจสหรัฐอเมริกาเจริญเติบโตอย่างไม่หยุดยั้งโดยไม่มีวิกฤตการเงินแม้แต่ครั้งเดียว เพราะขณะนั้นภาคธุรกิจการเงินถูกควบคุมโดยกฎเกณฑ์อย่างเข้มงวด
ในทศวรรษ1980 ภาคธุรกิจการเงินขยายตัวอย่างรวดเร็วแต่ปรากฏว่าในช่วง 1981-2011 มานี้ กลับกลายเป็นยุคเสรีทีผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุม (de-regulation) ภาคธุรกิจการเงิน จนเกิดวิกฤตย่อยในปลายทศวรรษ 1980 ธุรกิจการเงินหลายแห่งรวมตัวกันกลายเป็นยักษ์ใหญ่เพียงไม่กี่แห่ง มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อผ่อนปรนกฎเกณฑ์ควบคุมทางการเงิน เพราะเชื่อทฤษฎีเศรษฐศาสตร์ทีว่า “การมีกฎเกณฑ์น้อยลงทําให้เกิดความคล่องตัวทางธุรกิจมากขึ้น ต้นทุนจะต่ำลง กลไกตลาดที่สาธารณชนเห็นการทํางานอย่างชัดเจน จะผลักดันให้เกิดประสิทธิภาพ และผู้ได้รับประโยชน์คือประชาชน”
การเติบโตขึ้นของเศรษฐกิจภายใต้พื้นฐานของความหลอกลวง การสร้างภาพให้ดูดีเกินจริงเพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ที่ทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่าของสินทรัพย์อย่างรวดเร็ว สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือทางการเงินไม่ได้สะท้อนภาพที่แท้จริงตามกลไกของตลาดทุน แต่มุ่งเน้นการสร้างภาพลักษณ์ให้กับสถาบันทางการเงินที่จะเอื้อประโยชน์ให้กับตนเอง หนังเรื่องนี้ไม่ได้พูดถึงแค่นักการเงิน นักเศรษฐศาสตร์ หรือธนาคารที่กระหายเงินเท่านั้น แต่ยังกินไปถึงผลประโยชน์ทับซ้อนของงานวิจัยทางการเงิน ผู้ให้การศึกษาในมหาวิทยาลัย และพลังอำนาจของ “ระบบการเงิน” นั้นยิ่งใหญ่เหลือเกิน ยิ่งใหญ่เสียยิ่งกว่าอำนาจใด ๆ
อำนาจเมื่อไปอยู่ในมือคนผิด ก็สร้างความเสียหายมากมายกับโลก และประเทศได้ ซึ่งพอเกิดขึ้นแล้วมันก็ยากที่จะรับผิดชอบ รวมถึงการสร้างเงินจากสิ่งที่ไม่ถูกต้องก็ไม่มีความยั่งยืนใด ๆ วันนึงได้มา วันนึงก็ต้องเสียไป และอาจะเสียไปจนตั้งหลักไม่ได้ หวังว่าคนที่ได้ดูหนังเรื่องนี้ จะเข้าใจอีกด้านหนึ่งของโลกการเงินมากขึ้น มันมีดีมีเลว และถ้ามีโอกาสตรงนั้นคุณจะเลือกทำอย่างพวกเขาไหม? ยังมีหนังและบทความดี ๆ เกี่ยวกับการลงทุน และ Forex มากมายที่เราอยากจะแนะนำให้คุณ โดยคุณสามารถดาวน์โหลด App WikiFX เพื่อรับสิ่งเหล่านี้ได้ทุกวันแบบฟรี ๆ ที่ WikiFX
ถ้าโดนโบรกเกอร์ Forex โกงมาแนะนำให้คุณเข้าไปที่ การเปิดเผย ของแอพ WikiFX เพื่อแฉโบรกเกอร์ อย่าปล่อยให้คนโกงลอยนวล ยิ่งคุณแฉโบรกเกอร์จะยิ่งกลัว รีบบบบเลย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
IC Markets Global
Vantage
FXTM
HFM
EC Markets
TMGM
IC Markets Global
Vantage
FXTM
HFM
EC Markets
TMGM
IC Markets Global
Vantage
FXTM
HFM
EC Markets
TMGM
IC Markets Global
Vantage
FXTM
HFM
EC Markets
TMGM