简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เทรด Forex จะต้องเลือกโบรกเกอร์ที่มี “ใบอนุญาตรับรองจากหน่วยงานกำกับดูแล” เพราะการจดทะเบียนและมีใบอนุญาตเป็นสิ่งสำคัญที่บอกได้ว่าโบรกเกอร์ที่เราเลือกเปิดบัญชีมีความปลอดภัยน่าเชื่อถือ และมีความมั่นคง เพราะหากโบรกเกอร์ที่เลือกเปิดบัญชีปิดตัวลง หน่วยงานกำกับดูแลเหล่านี้จะเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือและชดเชยผลประโยชน์ที่เสียไป ถ้าไม่มีจะถือว่าเป็นโบรกเกอร์เถื่อน
หน่วยงานการกำกับดูแลและใบอนุญาต Forex ถูกจัดตั้งอยู่ในหลาย ๆ ประเทศ แต่ละประเทศจะมีกฎข้อบังคับที่ต่างกัน ซึ่งเหล่าโบรกเกอร์จะต้องปฏิบัติตาม หากโบรกเกอร์ไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนอาจได้รับการเตือนจากหน่วยงานนั้น ๆ หรืออาจถึงขั้นถูกเพิกถอนใบอนุญาตเลยก็ได้เช่นกัน
เนื่องจาก WikiFX เป็นแอปที่ทำการตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex จึงจะมาแนะนำหน่วยงานกำกับดูแลหลัก ๆ ที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุด
1. หน่วยงานกำกับดูแล FCA= หน่วยงาน FCA หรือ Financial Conduct Authority, United Kingdom จัดตั้งอยู่ที่สหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นองค์กรกำกับดูแลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในโลก สหราชอาณาจักรเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกย่องระดับโลกว่ามีระบบการกำกับดูแลที่ดีเยี่ยม
โดยโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน FCA จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 1 ปอนด์ มีการรับประกันเงินชดเชยสูงสุดถึง 50,000 ปอนด์สำหรับลูกค้าเมื่อโบรกเกอร์ล้มละลาย แบะโบรกเกอร์ต้องเก็บเงินลูกค้า แยกออกจากบัญชีบริษัทและไม่ใช้เงินของลูกค้าเพื่อวัตุประสงค์อื่น เป็นต้น
2. หน่วยงานกำกับดูแล CySEC = หน่วยงาน CySEC หรือ Cyprus Securities and Exchange Commission ตั้งอยู่ที่สาธารณรัฐไซปรัส กฎหมายและหน่วยงานกำกับดูแลที่ก่อตั้งด้วย CySEC เป็นไปตาม European MiFID Financial Laws ของปี 2004 และ CySEC มีอำนาจในการมอบ ยกเลิก หรือตรวจสอบใบอนุญาตของบริษัท องค์กร และบุคคลที่อยู่ภายใต้อำนาจ โดย Investor Compensation Fund (ICF) ถูกก่อตั้งขึ้นมาภายใต้การควบคุมอย่างเข้มงวดของ CySEC เพื่อการชดเชยในกรณีที่จะต้องชำระเงินคืนแก่ลูกค้า
โดยโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน CySEC จะต้องมีเงินหมุนเวียนอย่างน้อย 750,000 ยูโร มีการรับประเงินชดเชยสูงสุด 20000 ยูโร ให้แก่ลูกค้าในกรณีที่โบรกเกอร์ล้มละลาย และโบรกเกอร์ต้องส่งงบการเงินประจำปี เป็นต้น
3. หน่วยงานกำกับดูแล ASIC= ASIC หรือ Australian Securities and Investment Commission ตั้งอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ถือเป็นหน่วยงานที่เก่าแก่ที่สุดในตลาดเลยก็ว่าได้ ASIC กำกับดูแลโบรกเกอร์ที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นตลาดทางการเงิน องค์กรที่ให้บริการทางการเงิน ผู้เชี่ยวชาญที่ดำเนินการและให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการลงทุน รวมถึงตลาดหุ้นของออสเตรเลียก็อยู่ภายใต้การดูแลของ ASIC เช่นกัน
โดยโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน ASIC จะต้องมีเงินหมุนเวียนอย่างน้อย 1 ล้านเหรียญ ต้องแยกเก็บเงินลูกค้าไว้ในธนาคารชั้นนำของประเทศออสเตรเลีย และโบรกเกอร์จะต้องมีแพลตฟอร์มที่รวดเร็ว มีประสิทธิภาพสำหรับการซื้อขาย เป็นต้น
4.หน่วยงานกำกับดูแล NFA= หน่วยงาน NFA หรือ National Futures Association จัดตั้งอยู่ในสหรัฐอเมริกา
ทำหน้าที่กำกับดูแลโบรกเกอร์ Forex และบริษัทนายหน้าที่ให้บริการซื้อขายสินทรัพย์
รวมถึงธุรกิจการเงินต่าง ๆ NFA เป็นหน่วยงานที่มีความเข้มงวดสูงมาก ผู้ที่สามารถให้บริการการซื้อขายหลัก
ทรัพย์กับลูกค้าสหรัฐฯได้ จะต้องจดทะเบียนกับ NFA เท่านั้น
โดยโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาร NFA จะต้องมีเงินทุนจดทะเบียนอย่างน้อย 20 ล้านเหรียญสหรัฐ และโบรกเกอร์จะต้องส่งรายงานให้ NFA ทุกสัปดาห์ รวมถึงจะมีการ Audit ตรวจสอบรับรองทุกปี เป็นต้น
5.หน่วยงานการกำกับดูแล IFSC= หน่วยงาน IFSC หรือ International Financial Service Commission จัดตั้งอยู่ที่เบลีซ ในอเมริกากลาง ซึ่ง IFSC เป็นผู้รับผิดชอบในการออกใบอนุญาตให้กับผู้ให้บริการทางด้านการเงินต่าง ๆ รวมถึงโบรกเกอร์ด้วยเช่นกัน
โดยโบรกเกอร์ที่จดทะเบียนภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงาน IFSC จะต้องมีเงินทุนหมุนเวียนอย่างน้อย 500,000 เหรียญ เก็บเงินทุนของลูกค้าแยกออกจากบัญชีบริษัท เป็นต้น
และนี่คือ 5 หน่วยงานกำกับดูแลที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุด และเป็นหน่วยงานที่เหล่าโบรกเกอร์ต่าง ๆ ได้เลือกจดทะเบียนด้วยมากที่สุดเช่นกัน
เพราะฉะนั้นโบรกเกอร์ที่มีใบอนุญาตจากหน่วยงานรับรองกำกับดูแลต่าง ๆ นักเทรดสามารถสบายใจได้ว่าโบรกเกอร์ที่เลือกเปิดบัญชีด้วยมีความปลอดภัยและมั่นคง ดังนั้นนักเทรดสามารถตรวจสอบโบรกเกอร์ Forex ได้บนแอป WikiFX เพราะภายในแอปมีการรวมรวมข้อมูลโบรกเกอร์ไว้ให้ตรวจสอบอย่างครบถ้วน เช่น หน่วยงานที่โบรกเกอร์ได้จดทะเบียน ใบอนุญาตต่าง ๆ รวมถึงมีการแจ้งเตือนความเสี่ยงเรื่องต่าง ๆ ที่โบรกเกอร์โดนร้องเรียนมาอีกด้วย
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
รีวิวโบรกเกอร์
แนะนำฟีเจอร์ WikiFX
รวมรีวิวโบรกเกอร์ประจำสัปดาห์
รีวิวโบรกเกอร์ Ultima Markets
FXTM
Vantage
FP Markets
ATFX
FxPro
XM
FXTM
Vantage
FP Markets
ATFX
FxPro
XM
FXTM
Vantage
FP Markets
ATFX
FxPro
XM
FXTM
Vantage
FP Markets
ATFX
FxPro
XM