简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เชื่อเหลือเกินว่าเวลาที่คุณลงทุนอะไรใด ๆ มาก็ตามแต่หลายคนก็นึกถึงแต่เงินที่ได้รับ แต่ทราบหรือไม่ว่าในการลงทุนใด ๆ ก็ตามล้วนมีภาษีที่ต้องจ่ายนะ อย่างการมีรายได้จากการเทรด Forex ภาษีก็ต้องจ่ายด้วยเหมือนกัน! งานนี้ใครที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เราหาคำตอบมาให้คุณแล้ว!
จริงหรือมั่ว มีรายได้จากเงินดิจิทัลอย่าง Forex ภาษีก็ต้องจ่ายด้วย!
สำหรับใครที่มีข้อสงสัยเกี่ยวกับเรื่องนี้อยู่ เราขอบอกเลยว่า “เป็นเรื่องจริง” เนื่องจากรัฐบาลได้ออกมาประกาศให้มีการประกาศกฎหมายเกี่ยวกับการระดมทุนด้วยเงินดิจิทัล (ICO) และการเก็บภาษีจากการซื้อขายเงินดิจิทัล จุดประสงค์ก็เพื่อแก้ปัญหาการตรวจสอบแหล่งที่มาของเงินในการซื้อขายเงินดิจิทัล
ซึ่งจุดนี้เป็นประเด็นที่ถูกถกเถียงกันในหลายประเทศที่มีการซื้อขายเงินดิจิทัล เนื่องจากถ้าปล่อยให้ทุกคนสามารถซื้อขายอะไรก็ได้ โดยไม่ตรวจสอบแหล่งที่มาอาจถูกใช้ในเรื่องอาชญากรรม คอร์รัปชัน และการฟอกเงินได้
โดยกฎหมายฉบับนี้จะพูดถึงบริษัทที่จะเสนอขายเงินดิจิทัลว่าจะต้องได้รับอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ก่อนทำการเสนอขาย ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
นอกจากนี้การปล่อยข่าวลือเพื่อทำราคาก็จะมีความผิดด้วยเช่นกัน ซึ่งตามกฎหมายที่ออกมากล่าวว่า จะต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของกำไรจากการซื้อขายเงินดิจิทัลในอัตราร้อยละ 15
แปลว่าถ้าคุณทำกำไรได้ 100 บาทจากการซื้อขายเงินดิจิทัล คุณจะต้องเสียภาษี 15 บาท
หากลองเปรียบเทียบกับการลงทุนในตลาดหุ้น ถ้าบุคคลธรรมดาสามารถทำกำไรจากการซื้อขายได้ จะไม่ต้องเสียเงินภาษีใด ๆ ส่วนถ้าเป็นเงินปันผล เราจะโดนหักภาษี ณ ที่จ่าย 10% สำหรับการลงทุนในพันธบัตร หรือหุ้นกู้ เราจะโดนภาษี 15% นั่นหมายความว่าภาษีที่จัดเก็บจากการซื้อขายเงินดิจิทัล จะใกล้เคียงกับการเก็บภาษีของการลงทุนในตราสารหนี้
เมื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องที่หลายคนสงสัยกันว่า สรุปแล้ว! มีรายได้จากเงินดิจิทัลอย่าง Forex ภาษีก็ต้องจ่ายด้วยกันไปแล้ว ก็มาสู่ขั้นตอนของการเสียภาษี Forex กันสักหน่อย เผื่อใครที่ต้องเสียภาษีแบบนี้ครั้งแรกจะได้ไม่งุนงงสับสนกัน โดยขั้นตอนมีเพียง 4 ข้อง่าย ๆ ดังนี้!
1. นับยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีธนาคารไทย
สำหรับขั้นตอนแรกนั้นเรียกได้ว่าเป็นอะไรที่สำคัญอย่างมาก โดยคุณอาจจะขอ statement จากธนาคารเพื่อตรวจสอบ นับยอดเงินที่โอนเข้าบัญชีธนาคารไทย โดยให้ดูยอดเงินที่โอนเข้ามาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. พยายามบวกยอดอย่าให้ผิดเด็ดขาด เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง
2. ยอดหน้า History Payment ต้องระวัง
เรื่องนี้เรียกได้ว่าเป็นอะไรที่สำคัญไม่แพ้กันกับขั้นตอนแรก เนื่องจากยอดหน้า History Payment นั้นมีเรทการแลกเงินบาทไม่เหมือนกัน อาจทำให้ตัวเลขที่ออกมาคลาดเคลื่อน ไม่ตรงกับยอดที่เข้ามาในบัญชีธนาคารไทยได้จึงควรหลีกเลี่ยงยอดหน้า History Payment ที่อยู่ในโบรกเกอร์มาคำนวณเด็ดขาด!
3. ยอดเงินครบถ้วน
อุตส่าห์ตรวจทานขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 มาเป็นอย่างดี จะให้มาพลาดในขั้นตอนที่ 3 แบบนี้คงไม่ดีแน่ เพื่อป้องกันข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นตามมา หากคุณมีหลายธนาคารเราขอแนะนำให้คุณนำยอดทั้งหมดมารวมกันให้ครบถ้วนแล้วจึงคิดรวมกันทีเดียว
4. เก็บ Statement ไว้ให้ดี
สำหรับเอกสารอ้างอิงนี้เป็นอะไรที่สำคัญมาก คุณควรนำยอดเงินในเอกสารทั้งหมดไปกรอกลงในเอกสาร ภ.ง.ด.90 ห้ามกรอกเลขผิดเป็นอันขาด เสร็จแล้วแล้วจึงดำเนินการกรอกข้อมูลลงไป
และนี่ก็คือสาระดี ๆ ที่เรานำมาฝากคุณผู้อ่านในวันนี้ อย่าลืมว่าทุกการลงทุนล้วนมีความเสี่ยงอยู่เสมอ ทางที่ดีอย่าลืมเตรียมความพร้อมของตนเองให้ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้ด้วยการใช้บริการกับโบรกเกอร์ Forex ชั้นนำที่มีความน่าเชื่อถือ มีใบรับรอง และเชื่อมต่อกับธนาคารไทยโดยตรง
หากคุณไม่ทราบว่าจะใช้บริการกับโบรกเกอร์ Forex ที่ไหนดี ให้ WikiFX เป็นคำตอบของคุณสิ! ด้วยบทความดี ๆ เกี่ยวกับการเทรด Forex ที่เราคัดสรรมาแล้วว่าตอบโจทย์ เคลียร์ทุกข้อสงสัยในการเทรด Forex เพื่อคุณ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ