简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ผลสำรวจ CEO SURVEY ของหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ชี้ว่าบริษัทเกินกว่าครึ่งไม่เชื่อมั่นมาตรการรับมือโควิด-19 ของภาครัฐ เพราะเวลานี้ภาคธุรกิจกำลังได้รับความเดือนร้อนหนัก ถึงเวลที่ภาครัฐต้องเร่งทบทวนมาตรการรับมือจริงจัง เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นกลับคืนมา
หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจได้จัดทำแบบสำรวจ “CEO SURVEY” ถึงแผนรับมือธุรกิจของบริษัทต่างๆ รวม 200 บริษัท จากการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19”ผู้ตอบแบบสอบถามเป็น “ผู้บริหารระดับสูง” ขององค์กรต่างๆ โดยเฉพาะผู้บริหารของบริษัทจดทะเบียน ซึ่งเป็นการสำรวจในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ผู้ตอบแบบสอบถาม “เกินครึ่ง” หรือราว 53.3% ระบุว่า “ไม่เชื่อมั่น” ในมาตรการรับมือของภาครัฐต่อการแก้ปัญหา “โควิด-19” ส่วนที่เหลืออีก 46.7% ระบุว่าเชื่อมั่น
ผู้ร่วมตอบแบบสอบถามในครั้งนี้ แบ่งเป็น กลุ่มการเงิน 17.7% กลุ่มการผลิต 14.6% กลุ่มไอที โทรคมนาคม ดิจิทัล 13.1% กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ 12.6% และ กลุ่มค้าปลีก 7.6% ...ธุรกิจเหล่านี้กว่า 94.5% ระบุว่า “ได้รับผลกระทบ” จากการแพร่ระบาดของไวรัสดังกล่าวโดย 43.7% บอกว่า ได้รับผลกระทบในระดับ “ปานกลาง” คือ กระทบยอดขายมากกว่า 25% แต่ไม่ถึง 50% ส่วนผู้ที่ได้รับผลกระทบ “มาก” มีสัดส่วนผู้ตอบราว 20.1% โดยกลุ่มนี้ระบุว่า กระทบยอดขายมากกว่า 50% ขึ้นไป และอีก 30.7% ระบุว่า ได้รับผลกระทบ “น้อย” คือ กระทบต่อยอดขายน้อยกว่า 10% ส่วนผู้ที่ตอบว่าไม่ได้รับผลกระทบเลยมีเพียง 5.5% เท่านั้น
สำหรับข้อถามที่ว่า ธุรกิจปรับตัวอย่างไรท่ามกลางการแพร่ระบาดของโควิด-19 ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่ราว 32.6% ระบุว่า ใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายในองค์กร ส่วนอีก 25.4% ระบุว่า รักษาสภาพคล่องธุรกิจเอาไว้ และอีก 14% ระบุว่า หาตลาดใหม่ทดแทนส่วนกลุ่มที่บอกว่าชะลอแผนลงทุน มีผู้ตอบแบบสอบถามข้อนี้ราว 11.9% ...เมื่อถามว่า ภาพรวมการเติบโตของธุรกิจในปีนี้เป็นอย่างไร ผู้ตอบแบบสอบถาม “เกินครึ่ง” หรือ 55.1% ระบุว่า “ต่ำกว่าเป้า” และอีก 29.8% บอกว่า “ทรงตัว” มีเพียง 15.2% ที่ระบุว่า “เท่าเดิม”
ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดที่เกิดขึ้น ผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่หรือราว 38.2% เชื่อว่าจะยุติได้ภายในไตรมาส 2รองลงมา 32.2% คาดว่าจะยุติในไตรมาส 3 และมีอีก 12.1% คาดว่าจะยุติได้ในไตรมาส 4 ที่เหลืออีก 17.6% ตอบว่า ยังประเมินได้ยาก ...จากข้อมูลแบบสอบถามที่ “กรุงเทพธุรกิจ” ได้สำรวจมา เห็นภาพชัดเจนว่า เวลานี้ “ภาคธุรกิจ” กำลังได้รับความ “เดือนร้อน” อย่างหนักจาก “โควิด-19” และสิ่งที่ภาคธุรกิจเลือกทำอย่างแรก คือ “ลดต้นทุน” ซึ่งต้นทุนในที่นี้ หนีไม่พ้นเรื่อง “จ้างงาน” เราจึงเห็นหลายธุรกิจเริ่มลดชั่วโมงการทำงาน หรือลดจำนวนพนักงานลง แน่นอนว่า ที่ตามมาหลังจากนี้ คือ การบริโภคที่ทรุดตัวลง ซ้ำเติมภาพเศรษฐกิจที่หนักยิ่งขึ้น
ย้อนกลับไปคำถามแรกของแบบสอบถาม เรื่อง “ความเชื่อมั่น” ต่อมาตรการรับมือของภาครัฐ ซึ่งส่วนใหญ่ตอบว่า “ไม่เชื่อมั่น” ...เราหวังว่า ภาครัฐจะหยิบ “ข้อมูล” เหล่านี้ไปใช้ทบทวนปรับปรุงมาตรการต่างๆ ที่กำลังทำอยู่ในปัจจุบันเพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของภาคธุรกิจกลับคืนมา...และต้องบอกว่าเราเห็น “ความพยายาม” อย่างหนักของภาครัฐในการแก้ปัญหาเรื่องนี้ เราเห็นมาตรการช่วยเหลือต่างๆ ที่กำลังเร่งออกมา แต่เราก็เห็นว่าข้อมูลบางอย่างที่ “รัฐบอก” กับสิ่งที่ “ประชาชนสัมผัส” ด้วยตัวเอง “ไม่ตรงกัน” เช่น เรื่องที่อาจฟังดูเล็กน้อยอย่างการบอกว่าหน้ากากอนามัย “ไม่ขาดตลาด” หรือ “ไม่พบการขายเกินราคา” เรื่องแบบนี้อาจดูหยุมหยิมสำหรับภาครัฐ แต่กับประชาชนทั่วไปแล้ว แค่เรื่องเล็กน้อยแบบนี้รัฐบาลกลับมองไม่เห็นถึงปัญหา แล้วจะให้ประชาชนเชื่อมั่นในเรื่องที่ใหญ่กว่าได้อย่างไร เราเห็นว่าถึงเวลาแล้วที่ภาครัฐต้องเร่งทบทวนมาตรการรับมือต่างๆ อย่างจริงจัง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
FxPro
FXTM
VT Markets
ATFX
TMGM
FP Markets
FxPro
FXTM
VT Markets
ATFX
TMGM
FP Markets
FxPro
FXTM
VT Markets
ATFX
TMGM
FP Markets
FxPro
FXTM
VT Markets
ATFX
TMGM
FP Markets