简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:แม้เริ่มต้นปี 2563 จะเจอปัจจัยลบรุมเร้าหลายด้าน แต่ก็ยังมีปัจจัยหนุนอยู่บ้าง หลักๆ 4 ด้าน สศช.เชื่อว่า หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลงในไตรมาส 2 ปี 2563 ตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้ง 4 ปัจจัยจะช่วยให้เศรษฐกิจไทยฟื้นตัวอย่างแน่นอน
เกือบ 2 เดือนเต็มแล้วที่ “เศรษฐกิจไทย” เผชิญกับ “ข่าวร้าย” แบบไม่หยุดหย่อนมาตั้งแต่ต้นปี 2563เริ่มตั้งแต่ “การห้ำหั่น” กันระหว่าง “สหรัฐ” กับ “อิหร่าน”ทำเอาการลงทุนชะงักงันไปช่วงเวลาหนึ่ง หลังจากนั้นเรายังเจอกับปัญหา “ฝุ่นพิษ”ส่งผลต่อการตัดสินใจเดินทางท่องเที่ยวจากทั้งนักท่องเที่ยวชาวไทยและต่างประเทศ ขณะเดียวกันยังเผชิญกับ“ภัยแล้ง”ซึ่งส่งผลต่อกำลังซื้อของแรงงานภาคเกษตร รวมไปถึงปัญหางบประมาณปี 2563 ที่ล่าช้าอยู่แล้วต้องล่าช้าออกไปอีก และที่หนักสุด คือ ปัญหาการแพร่ระบาดของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19”ซึ่งไม่มีใครคาดคิดมาก่อนว่าจะเกิดขึ้นและยังส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก รวมทั้งเศรษฐกิจไทยด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมา สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไทยไตรมาส 4 ปี 2562 เติบโตเพียง 1.6% เป็นระดับ “ต่ำสุด” ในรอบ 21 ไตรมาส รวมทั้งยังได้ “ปรับลด” คาดการณ์การเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้ลงเหลือ 1.5-2.5% จากเดิม 2.7-3.7%สาเหตุสำคัญมาจากการแพร่ระบาดของ “โควิด-19” ซึ่งส่งผลกระทบรุนแรงต่อ “ภาคการท่องเที่ยวไทย” และยังกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างมีนัยสำคัญด้วย ..เรียกได้ว่า “เศรษฐกิจไทย” ห้วงเวลานี้ “มีแต่ข่าวร้าย” เต็มไปหมด ทุกคนเฝ้ารอแค่ว่าจะมี “ข่าวดี” ให้ใจชื้นเมื่อไหร่บ้าง
สำหรับ “ปัจจัยหนุน” ทางเศรษฐกิจนั้น หาก “ส่องดูดีๆ” ก็พอมีให้เห็นบ้าง โดยข้อมูลของ สศช. ระบุว่า ปัจจัยหนุนทางเศรษฐกิจของไทยในปีนี้มี “4 ด้านหลัก” ด้านแรก คือ การปรับตัวดีขึ้นอย่างช้าๆ ของเศรษฐกิจโลกท่ามกลางการผ่อนคลายจากแรงกดดันของมาตรการการค้าระหว่าง “สหรัฐ” กับ “จีน” รวมทั้งการลดลงของ “ความเสี่ยง” จากการแยกตัวแบบไร้ข้อตกลงของสหราชอาณาจักร หรือ “โนดีล เบร็กซิท” ซึ่งแม้การแพร่ระบาดของ “โควิด-19” จะส่งผลต่อเศรษฐกิจจีนและประเทศสำคัญๆ ผ่านการลดลงของนักท่องเที่ยว และผ่านห่วงโซ่การผลิต-การค้าระหว่างประเทศบ้าง แต่กรณีฐานเชื่อว่าจะสิ้นสุดลงในช่วงต้นเดือนพ.ค.2563 ทำให้แรงกดดันทางเศรษฐกิจเริ่มผ่อนคลายลงในไตรมาส 2
ด้านที่ 2 คือ การขยายตัวในเกณฑ์ที่น่าพอใจของ “อุปสงค์” ภายในประเทศ ทั้งในด้านการใช้จ่ายภาคครัวเรือน และการลงทุนภาคเอกชนส่วนหนึ่งได้แรงหนุนจาก การลงทุนย้ายฐานการผลิตเพื่อหลีกเลี่ยงผลกระทบจากมาตรการกีดกันการค้าท่ามกลางความคืบหน้าของโครงการลงทุนสำคัญๆ รวมไปถึง การผ่อนคลายมาตรการกำกับดูแลสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (แอลทีวี) ในบางข้อเป็นต้นด้านที่ 3 คือ แรงขับเคลื่อนจากมาตรการภาครัฐทั้งการดูแลผู้มีรายได้น้อย รวมถึงมาตรการการเงินการคลังเพื่อบรรเทาผลกระทบต่อภาคธุรกิจท่องเที่ยว ซึ่งข้อนี้ “ภาครัฐ” พร้อมทุ่มสรรพกำลังเข้ามาดูแลอย่างเต็มที่
สุดท้าย คือ การขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ต่ำในปีที่ผ่านมา ทำให้ “ฐาน” ปีที่แล้วต่ำลงโดยเฉพาะช่วงไตรมาสสุดท้ายของปี 2562 จึงเป็นปัจจัยสนับสนุนให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้อยู่ในเกณฑ์สูงกว่าปกติ ทาง สศช.เชื่อว่า หากการแพร่ระบาดของโควิด-19 สิ้นสุดลงในไตรมาส 2 ปี 2563 ตามที่คาดการณ์ไว้ ทั้ง “4 ปัจจัย” เหล่านี้ จะช่วยให้เศรษฐกิจไทย “ฟื้นตัว” อย่างแน่นอน ...เราหวังว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทยในรอบนี้จะเป็นลักษณะ “วีเชฟ” หากทำได้จริง จะถือว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วง “ครึ่งแรก” ของปีนี้ เป็นเพียง “ฝันร้าย” ทางเศรษฐกิจ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นซิมบับเวเติบโตสูงสุด เนื่องจากมีการพิมพ์เงินออกมามากขึ้นเมื่อเผชิญวิกฤติ เพื่อให้ค่าเงินอ่อนลงและรอดพ้นจากวิกฤติเศรษฐกิจ เช่นเดียวกับสหรัฐที่ทำในลักษณะเดียวกัน ซึ่งหลายคนมองว่าเราอาจอยู่ในฟองสบู่ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์
ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ได้ลงนามในร่างกฎหมายบรรเทาทุกข์ทางเศรษฐกิจมูลค่า 1.9 ล้านล้านดอลลาร์เมื่อวันพฤหัสบดี โดยสั่งจ่ายเช็คกระตุ้นให้บุคคลและครอบครัวที่มีคุณสมบัติตามรายได้และเงินบรรเทาทุกข์จำนวนมากที่จะส่งไปยังเมืองโรงเรียนและธุรกิจต่างๆ
‘เยลเลน’ต่อสายตรงรมว.คลังอินโดฯ หวังกระชับความร่วมมือทางเศรษฐกิจ
การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธ์ุใหม่ (โควิด-19) ส่งผลให้เศรษฐกิจโลกถดถอยรุนแรงที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติการณ์ และยังไม่ทราบแน่ชัดว่า เมื่อใดจะกลับมาฟื้นตัวเต็มที่ พัฒนาการของวัคซีนทำให้เศรษฐกิจโลกดูมีความหวังก็จริง แต่นักเศรษฐศาสตร์ยังมีเรื่องที่น่าห่วง
VT Markets
Octa
STARTRADER
Pepperstone
FXTM
OANDA
VT Markets
Octa
STARTRADER
Pepperstone
FXTM
OANDA
VT Markets
Octa
STARTRADER
Pepperstone
FXTM
OANDA
VT Markets
Octa
STARTRADER
Pepperstone
FXTM
OANDA