简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาประเมินผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2567 อาจคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP ประเทศ เสี่ยงที่น้ำจะเคลื่อนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มาที่ภาคกลางและภาคใต้
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยออกมาประเมินผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2567 อาจคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP ประเทศ เสี่ยงที่น้ำจะเคลื่อนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง มาที่ภาคกลางและภาคใต้
วรรณวิษา ศรีรัตนะ ผู้บริหารสายงานวิจัย ศูนย์วิจัยกสิกรไทย สถานการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในหลายจังหวัดตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้จนถึงปัจจุบันยังไม่สิ้นสุด เนื่องจากยังไม่หมดฤดูฝน โดยสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำประเมินว่า พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมและพื้นที่เสี่ยงน้ำท่วมฉับพลันจะเคลื่อนจากภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในเดือนกันยายนและตุลาคม มาเป็นภาคกลางและภาคใต้ในช่วงเดือนพฤศจิกายนและธันวาคม
สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลกระทบหรือสร้างความเสียหายต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งพื้นที่และผลผลิตทางการเกษตร รายได้ของครัวเรือน ธุรกิจ/ผู้ประกอบการ รวมถึงสิ่งปลูกสร้าง/ที่อยู่อาศัย และโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ของรัฐ เช่น ถนนทรุด สะพานขาด
ทั้งนี้ภายใต้สมมติฐานน้ำท่วมแต่ละพื้นที่กินเวลาเฉลี่ยประมาณ 15 วัน และเกิดความสูญเสียต่อ Gross Provincial Product (GPP) ในสัดส่วนประมาณ 20% ของจังหวัดนั้นๆ ยกเว้นบางพื้นที่อย่างเชียงรายที่น้ำท่วมซ้ำหลายรอบ ระยะเวลาจะมากกว่าเฉลี่ย และเชียงใหม่ที่เกิดน้ำท่วมในเขตเมือง สัดส่วนความสูญเสียต่อ GPP จะมากกว่าเฉลี่ย
ศูนย์วิจัยกสิกรไทยประเมินต่อว่า ผลกระทบจากน้ำท่วมในปี 2567 อาจคิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นล้านบาท หรือ 0.16% ของ GDP ประเทศ อย่างไรก็ดี ถ้าเหตุการณ์ดังกล่าวกินระยะเวลานานขึ้น หรือขยายขอบเขตไปยังพื้นที่ต่างๆ มากขึ้น โดยเฉพาะในเขตตัวเมืองของภาคกลางและภาคใต้ ผลกระทบในกรณีเลวร้ายอาจมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 5 หมื่นล้านบาท หรือ 0.27% ของ GDP ประเทศ
อย่างไรก็ดีแม้ในแง่เม็ดเงินผลกระทบปี 2567 จะน้อยกว่าปี 2554 ที่เกิดมหาอุทกภัย ซึ่งในปีนั้นกินระยะเวลานาน กระทบโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมและภาคการผลิตเป็นหลัก เพิ่มเติมจากภาคเกษตรและครัวเรือน แต่ภัยพิบัติในปีนี้นับว่ารุนแรงมากโดยเฉพาะในบางพื้นที่ เช่น เชียงราย เชียงใหม่ ซึ่งความเสียหายหลักส่วนใหญ่จะตกในภาคเกษตร รายได้ของครัวเรือน และการท่องเที่ยวในบางจังหวัด ส่งผลกระทบตามมาต่อการบริโภคและเศรษฐกิจไทยในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี
นอกจากนี้มองว่าการฟื้นฟูหลังสถานการณ์น้ำท่วมคลี่คลายคงจะมาจากงบประมาณของภาครัฐและการใช้จ่ายของภาคเอกชน ซึ่งคงช่วยหนุนกิจกรรมการก่อสร้างและอุปกรณ์ตกแต่งบ้านได้บางส่วน แต่ขณะเดียวกันครัวเรือนคงจำเป็นต้องก่อหนี้ ซึ่งจะมีผลกดดันการใช้จ่ายสินค้าและบริการที่ไม่จำเป็นอื่นๆ ตามมา
มองไปข้างหน้า จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศสุดขั้วทำให้ภัยพิบัติมีความเสี่ยงจะเกิดถี่และรุนแรงขึ้นอีก ดังนั้นทุกฝ่ายควรวางแนวทางรับมือ เช่น ระบบเตือนภัยในชุมชน/ท้องถิ่นที่เข้าใจง่าย แผนปฏิบัติการฉุกเฉินเมื่อเกิดเหตุในแต่ละระดับ การทำประกันภัย และการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถรองรับความเสี่ยง
ขอบคุณข้อมูลจาก THE STANDARD WEALTH
อ่านข่าวสาร Forex ทั่วโลกเพิ่มเติมคลิกเลย : https://www.wikifx.com/th/original.html?source=tso4
คุณสามารถตรวจสอบใบอนุญาตโบรกเกอร์ Forex และอ่านรีวิวข้อมูลต่าง ๆ ได้ง่าย ๆ ผ่านแอป WikiFX เพียงแค่ไปค้นหาชื่อก็เจอข้อมูล ใครที่อยากได้ความรู้ เทคนิค กลยุทธ์การเทรด หรือการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ก็สามารถเข้ามาอ่านได้ อีกทั้งยังมีบริการ EA VPS บนแอป WikiFX อีกด้วย แอปเดียวที่จบครบเรื่อง Forex ดาวน์โหลดฟรี โหลดเลยตอนนี้จะพลาดได้ไง!
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FXTM
FOREX.com
Octa
IQ Option
EC Markets
HFM
FXTM
FOREX.com
Octa
IQ Option
EC Markets
HFM
FXTM
FOREX.com
Octa
IQ Option
EC Markets
HFM
FXTM
FOREX.com
Octa
IQ Option
EC Markets
HFM