简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:สำหรับการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนประเภทนี้ ประเทศไทยได้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีของนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561
สำหรับการจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนประเภทนี้ ประเทศไทยได้ออกกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์ในการเสียภาษีของนักลงทุนที่ลงทุนในสินทรัพย์ดิจิทัล ตามพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร ฉบับที่ 19 พ.ศ. 2561 โดยสรุปสาระสำคัญของกฎหมายภาษีดังกล่าวก็คือ
กำหนดให้ทรัพย์สินดิจิทัลที่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องเสียภาษีตามกฎหมายฉบับนี้ ได้แก่ คริปโทเคอร์เรนซี เช่น บิตคอยน์ (Bitcoin) และโทเคนดิจิทัล ที่มีการซื้อขายในประเทศไทย ซึ่งกฎหมายได้กำหนดประเภทเงินได้ดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นมาโดยจัดเอาไว้ในกลุ่มเงินได้พึงประเมินประเภทที่ 4 ข้อ 4 (ซ) และ (ฌ) ในมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากรฯ ) ซึ่งตัวอย่างเงินได้ประเภทที่ 4 นี้จะอยู่ในหมวดหมู่เดียวกันกับกลุ่มเงินได้ดอกเบี้ยเงินปันผล
โดยกฎหมายได้กําหนดให้เพิ่มประเภทของเงินได้ (ซ) และ (ฌ) ของ (4) ในมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ “(ซ) เงินส่วนแบ่งของกําไร หรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกันที่ได้จากการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล(ฌ) ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการโอนคริปโทเคอร์เรนซีหรือโทเคนดิจิทัล ทั้งนี้ เฉพาะซึ่งตีราคาเป็นเงินได้เกินกว่าที่ลงทุน” และเพิ่มเรื่องการคำนวณภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของเงินได้ดังกล่าวไว้ใน (ฉ) ของ (2) ในมาตรา 50 แห่งประมวลรัษฎากร
“(ฉ) ในกรณีเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) (ซ) และ (ฌ) ให้คํานวณหักในอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้”
จากสาระสำคัญของกฎหมายภาษีข้างต้น สามารถอธิบายแนวทางการเสียภาษีโดยสรุปดังนี้
1.กรณีมีการถือหรือครอบครองโทเคนดิจิทัล โดยนักลงทุนผู้ถือหรือผู้ครอบครอง มีสิทธิ์ได้รับส่วนแบ่งกำไรหรือผลประโยชน์อื่นใดในลักษณะเดียวกัน เงินได้ดังกล่าวจะถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไว้ 15% จากผลประโยชน์นั้นก่อนที่จะมีการจ่ายให้กับนักลงทุนที่เป็นผู้ถือหรือผู้ครอบครอง
2.กรณีมีกำไรจากการขาย (Capital Gain) เช่น หากมีการขายสินทรัพย์ดิจิทัล แล้วมีกำไรจากการขาย กล่าวอย่างง่ายคือ ราคาขายมากกว่าราคาต้นทุนที่ได้มา ทางผู้ขายมีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% จากกำไรที่เกิดขึ้นก่อนมีการจ่ายเงินให้นักลงทุน และแม้ว่าจะถูกหัก ณ ที่จ่ายไปแล้ว 15% นั้น แต่ยังคงต้องนำเงินได้ดังกล่าวมารวมคำนวณเงินได้ฯ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วย
แม้เงินได้นี้จะถูกจัดประเภทไว้ในเงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นหมวดหมู่ของกลุ่มเงินได้ดอกเบี้ย เงินปันผลในหุ้น โดยปกติเงินได้กลุ่มนี้หากเราถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้ว จะมีสิทธิเลือกที่จะไม่นำเงินได้ส่วนนี้มารวมคำนวณเงินได้ เพื่อยื่นแบบเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีได้ แต่สำหรับเงินได้จากทรัพย์สินดิจิทัลยังคงต้องนำเงินได้มายื่นเสียภาษีบุคคลธรรมดาตอนปลายปีด้วย
อย่างไรก็ตาม พระราชกำหนดการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ. 2561 ที่ประกาศใช้ ถือเป็นการเปลี่ยนแปลงและปรับตัวครั้งสำคัญของนักลงทุนทั่วไป รวมถึงบริษัทที่วางแผนจะระดมทุนผ่าน ICO ซึ่งเป็นวิธีระดมทุนโดยที่อาศัยเทคโนโลยีบล็อกเชนเข้ามาช่วย จากแนวทางกำกับดูแลของภาครัฐที่มีเป้าหมายในการดูแลธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลให้เกิดความโปร่งใส คุ้มครองนักลงทุนไม่ให้ถูกหลอกลวง เพื่อไม่ให้กระทบต่อเสถียรภาพทางการเงิน และโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
FXTM
GO MARKETS
FP Markets
XM
FOREX.com
VT Markets
FXTM
GO MARKETS
FP Markets
XM
FOREX.com
VT Markets
FXTM
GO MARKETS
FP Markets
XM
FOREX.com
VT Markets
FXTM
GO MARKETS
FP Markets
XM
FOREX.com
VT Markets