简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:"หัวเว่ย เทคโนโลยีส์" ยักษ์ใหญ่เทเลคอมของจีน หันไปเป็นพันธมิตรกับบรรดาคู่แข่งในธุรกิจผลิตชิปสำหรับมือถือ หวังใช้ต้านทานแรงกดดันจากสหรัฐ ในช่วงที่รัฐบาลวอชิงตันหันกลับมาเล่นงานและไล่บี้หัวเว่ยอีกครั้ง
บริษัทคู่แข่งที่หัวเว่ยได้หารือเพื่อเป็นพันธมิตรคือ “มีเดียเทค” บริษัทพัฒนาชิปสำหรับมือถือและอุปกรณ์สื่อสารเคลื่อนที่รายใหญ่สุดอันดับ 2 ของโลกรองจากควอลคอมม์ของสหรัฐ และ “ยูนิซอก” บริษัทออกแบบชิปสำหรับมือถือใหญ่สุดอันดับ 2 ของจีนรองจากไฮซิลิคอน เทคโนโลยีส์ หน่วยงานในเครือด้านการผลิตชิปของหัวเว่ย เพื่อซื้อชิปได้มากขึ้นในฐานะเป็นทางเลือกเพื่อช่วยให้ธุรกิจอิเล็กทรอนิกส์เพื่อผู้บริโภคขยายตัวได้ต่อไป
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ประกาศกฎเกณฑ์ใหม่เมื่อวันศุกร์ที่ 15 พ.ค. โดยมีเป้าหมายที่จะสกัดกั้นการส่งมอบเซมิคอนดักเตอร์ทั่วโลกให้กับบริษัทหัวเว่ย เทคโนโลยี ยักษ์ใหญ่ด้านอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมของจีน ถือเป็นการเพิ่มแรงกดดันให้แก่หัวเว่ย ซึ่งถูกขึ้นบัญชีดำอยู่แล้วเนื่องจากเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐ ระบุว่า กฎเกณฑ์ใหม่ดังกล่าวจะจำกัดขีดความสามารถของหัวเว่ยในการใช้เทคโนโลยี และซอฟต์แวร์ของสหรัฐ เพื่อการออกแบบ และผลิตเซมิคอนดักเตอร์ของหัวเว่ยในต่างประเทศ
ทั้งนี้ บริษัทต่างชาติที่ใช้อุปกรณ์ผลิตชิปของสหรัฐจะต้องขอใบอนุญาตจากสหรัฐ ก่อนที่จะทำการส่งมอบอุปกรณ์ดังกล่าวให้กับหัวเว่ย
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุด้วยว่า การประกาศดังกล่าวจะเป็นการสกัดกั้นความพยายามของหัวเว่ยในการบ่อนทำลายมาตรการควบคุมการส่งออกของสหรัฐ โดยทุกวันนี้ รัฐบาลของประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ถือว่า หัวเว่ย ซึ่งเป็นผู้นำเครือข่ายสื่อสารไร้สาย 5จีของโลก เป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงของสหรัฐ โดยเชื่อว่าอุปกรณ์ของหัวเว่ย อาจถูกใช้เพื่อทำการจารกรรมข้อมูลทางไซเบอร์ ซึ่งหัวเว่ยปฏิเสธข้อกล่าวหานี้มาตลอด
เมื่อเดือน พ.ค. ปีที่แล้ว สหรัฐได้ขึ้นบัญชีดำบริษัทหัวเว่ยและบริษัทในเครือ และสั่งให้บริษัทของสหรัฐที่ต้องการส่งออกสินค้าให้กับบริษัทที่ถูกขึ้นบัญชีดำเหล่านั้น จะต้องขอใบอนุญาตจากทางการสหรัฐ
ด้านหนังสือพิมพ์โกลบอล ไทม์ส ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์แท็บลอยด์ของพรรคคอมมิวนิสต์จีนรายงานว่า จีนกำลังวางแผนที่จะดำเนินมาตรการตอบโต้สหรัฐเช่นเดียวกัน ซึ่งรวมถึงการประกาศรายชื่อบริษัทของสหรัฐในรายชื่อ “องค์กรที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ”
นอกจากนี้ มาตรการตอบโต้อื่น ๆ อาจรวมถึง การสอบสวน การกำหนดข้อจำกัดต่าง ๆ กับบริษัทของสหรัฐ อาทิ แอ๊ปเปิ้ล อิงค์ (Apple Inc.) และการระงับสั่งซื้อเครื่องบินจากบริษัทโบอิง (Boeing Co.)
ริชาร์ด หยู ประธานเจ้าหน้าที่บริหารประจำกลุ่มธุรกิจ หัวเว่ย คอนซูเมอร์ บิสสิเนส กรุ๊ป เปิดเผยผ่านทางบัญชีวีแชท ซึ่งเป็นแอพส่งข้อความของจีนว่า การที่รัฐบาลสหรัฐกดดันให้บริษัททั่วโลกร่วมแบนการส่งออกชิปหรือเซมิคอนดัคเตอร์ให้กับหัวเว่ย ด้วยความหวังว่าจะสกัดหัวเว่ยออกจากห่วงโซ่อุปทานนั้น มีจุดประสงค์เดียวก็คือ เพื่อให้สหรัฐครองอำนาจด้านเทคโนโลยีของโลกต่อไปแต่เพียงผู้เดียว ไม่ได้มีเหตุผลด้านความมั่นคงอย่างที่อ้างไว้
ความพยายามล่าสุดของรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งกระทำผ่านทางกระทรวงพาณิชย์มีเป้าหมายเพื่อจำกัดการจำหน่ายชิปของบรรดาบริษัทผู้ผลิตนานาชาติให้กับหัวเว่ย ซึ่งการไม่สามารถเข้าถึงแหล่งผลิตชิปซึ่งเป็นชิ้นส่วนสำคัญในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์หลายอย่างรวมทั้งอุปกรณ์สื่อสารโทรคมนาคมที่หัวเว่ยเป็นผู้ผลิตนั้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อธุรกิจของหัวเว่ย
และหากคิดเป็นความสูญเสียด้านรายได้ก็คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์ เนื่องจากบริษัทต้องพึ่งพาซัพพลายเออร์จากต่างประเทศอยู่มาก และไม่อาจหาทางเลือกใหม่ได้ในระยะเวลาสั้นๆ
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
Tickmill
VT Markets
ATFX
Vantage
GO MARKETS
IC Markets Global
Tickmill
VT Markets
ATFX
Vantage
GO MARKETS
IC Markets Global
Tickmill
VT Markets
ATFX
Vantage
GO MARKETS
IC Markets Global
Tickmill
VT Markets
ATFX
Vantage
GO MARKETS
IC Markets Global