简体中文
繁體中文
English
Pусский
日本語
ภาษาไทย
Tiếng Việt
Bahasa Indonesia
Español
हिन्दी
Filippiiniläinen
Français
Deutsch
Português
Türkçe
한국어
العربية
บทคัดย่อ:เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล อีกทั้งยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
เงินบาทช่วงสิ้นปีที่ผ่านมาแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็ว จนเป็นที่จับตามองจากหลายๆ ฝ่าย ซึ่งแบงก์ชาติกล่าวว่าการแข็งค่าอย่างรวดเร็วนี้เป็นผลจากสภาพคล่องในตลาดเงินที่อยู่ในระดับต่ำในช่วงวันหยุดเทศกาล ทำให้การทำธุรกรรมซื้อขายเงินตราไม่สมดุล อีกทั้งยังเป็นผลจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ด้วยเช่นกัน
ด้านศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ หรืออีไอซี นำเสนอบทวิเคราะห์มุมมองค่าเงินบาทในปี 2020 เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเตรียมตัวพร้อมรับมือต่อความผันผวนของค่าเงินในระยะต่อไป โดยมองว่าค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่า เทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ จากปัจจัยดังต่อไปนี้
1. ดุลบัญชีเดินสะพัดไทยในปี 2020 จะยังคงเกินดุลสูงใกล้เคียงในปี 2019 เนื่องจากมูลค่าการส่งออกและนำเข้าในปี 2020 มีแนวโน้มทรงตัวจากปีก่อน และภาคการท่องเที่ยวจะยังคงขยายตัวแม้อยู่ในอัตราที่ชะลอลง รวมถึงการลงทุนในประเทศจะยังอยู่ในภาวะซบเซา จึงทำให้โดยรวมแล้ว การเกินดุลบัญชีเดินสะพัดของไทยแม้จะชะลอลงแต่ยังคงเกินดุลในระดับสูงที่ประมาณ 6% ต่อ GDP
2. ความเสี่ยงต่อเศรษฐกิจโลกปรับลดลง ส่งผลให้เงินทุนเคลื่อนย้ายมีแนวโน้มไหลกลับเข้าสู่ตลาดเกิดใหม่ในเอเชีย รวมถึงไทย โดยการเจรจาทางการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน มีความคืบหน้า เป็นปัจจัยที่ลดความเสี่ยงด้านต่ำของภาคส่งออกและเศรษฐกิจโดยรวมของกลุ่มประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย EM-Asia ส่วนความเสี่ยงจากสถานการณ์ Brexit ปรับดีขึ้นเช่นกัน จะส่งผลให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนปรับสูงขึ้น และมีเงินทุนไหลกลับเข้ากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่ได้
3. ดัชนีค่าเงินดอลลาร์สหรัฐฯ มีโอกาสปรับอ่อนค่าลงได้เล็กน้อย ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น โดยพบว่าในเวลาที่เศรษฐกิจโลกปรับแย่ลง จะทำให้มีความต้องการถือเงินดอลลาร์สหรัฐฯ เพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นสกุลเงินหลักของโลกและมีความเสี่ยงต่ำ ทั้งนี้ในระยะต่อไปที่เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มปรับดีขึ้น ความเสี่ยงของการเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกลดลง จะทำให้ความต้องการถือครองเงินดอลลาร์สหรัฐฯ ปรับลดลงมา
4. ข้อจำกัดของแบงก์ชาติ ในการผ่อนคลายนโยบายการเงิน และเข้าดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เช่น การลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายมีส่วนช่วยให้อัตราแลกเปลี่ยนของประเทศนั้นๆ อ่อนค่าลงได้ และจากอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำสุดในประวัติการณ์ ทำให้ความสามารถของแบงก์ชาติในการดูแลค่าเงินบาทผ่านช่องทางนี้ลดลง นอกจากนี้ไทยยังต้องเผชิญต่อความเสี่ยง
ข้อจำกัดความรับผิดชอบ:
มุมมองในบทความนี้แสดงถึงมุมมองส่วนตัวของผู้เขียนเท่านั้นและไม่ถือเป็นคำแนะนำในการลงทุน สำหรับแพลตฟอร์มนี้ไม่รับประกันความถูกต้องครบถ้วนและทันเวลาของข้อมูลบทความ และไม่รับผิดชอบต่อการสูญเสียใด ๆ ที่เกิดจากการใช้ข้อมูลในบทความ
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ตลาดเงินนิวยอร์ก
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก
ในปี 2567 ดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักหลายสกุล เนื่องจากการคาดการณ์ปรับลดอัตราดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐที่ 0.5% ในเดือนกันยายน การลดลงของอัตราดอกเบี้ยส่งผลให้ดอลลาร์มีความน่าสนใจน้อยลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินที่มีอัตราดอกเบี้ยสูงกว่า ดอลลาร์อ่อนค่ามากที่สุดเมื่อเทียบกับเงินบาทไทย (THB) ซโลตีโปแลนด์ (PLN) และริงกิตมาเลเซีย (MYR) ขณะที่แข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับลีร่าตุรกี (TRY) และเปโซเม็กซิโก (MXN) ข้อดีคือกระตุ้นการส่งออกและการท่องเที่ยวในสหรัฐฯ แต่ก็เพิ่มค่าใช้จ่ายการเดินทางและการนำเข้าเช่นกัน
IQ Option
VT Markets
Octa
Pepperstone
OANDA
FXTM
IQ Option
VT Markets
Octa
Pepperstone
OANDA
FXTM
IQ Option
VT Markets
Octa
Pepperstone
OANDA
FXTM
IQ Option
VT Markets
Octa
Pepperstone
OANDA
FXTM